ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์
ผู้รายงาน นางสาวปิยนุช หุ่นศาสน์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ใช้ในการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ ในครั้งนี้ เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงมหัศจรรย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ ก่อนเรียนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเทศบาล 5 วัดไชยสุรินทร์ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงมหัศจรรย์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงมหัศจรรย์4)แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t) ผลการศึกษา พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง แรงมหัศจรรย์ จากนักเรียนและครู พบว่า ควรมีเนื้อหาให้ความรู้ ใช้ภาษาเข้าใจง่ายชัดเจน มีภาพประกอบสีสัน สวยงามและได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง แรงมหัศจรรย์ ที่สร้างขึ้นมีทั้งหมด 8 ชุดซึ่งแต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ชื่อชุดกิจกรรม 2) คำนำ 3)สารบัญ 4) คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับครู 5) คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน 6) จุดประสงค์ 6) ใบกิจกรรม / ใบความรู้ /แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรม 7) แบบทดสอบก่อนเรียน 8) แบบทดสอบหลังเรียน และมีประสิทธิภาพ 88.88/85.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง แรงมหัศจรรย์ พบว่า การเรียนการสอนดำเนินการได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
4. ผลการประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์
4.1 ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ 0.5
4.2 ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ 0.5
4.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดไชยสุรินทร์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงมหัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด