ชื่อเรื่อง บทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้เขียน นางทัศนวดี กรรณิกา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดบ้านจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ แบบแผนการศึกษาเป็นแบบไม่เข้าขั้นทดลอง (Pre-experimental Desing) โดยกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองแบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบ ก่อนและหลังการทดลอง ที่เรียกว่า One group Pretest- Posttest Desing ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test (Dependent Samples)
ผลการพัฒนาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 85.92/85.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6830 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.30
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป ชุด การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรคกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. = 0.51)