บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบการจัด
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาด้วงวิทยา ที่ได้รับการเรียนด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ก่อนและหลังการทดลอง และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาด้วงวิทยา ที่มีต่อการเรียนด้วยด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ที่มีกลุ่มทดลอง กลุ่มเดียวและมีการทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนาด้วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 5 ห้อง ประกอบด้วย ม.3/1 จำนวน 24 คน ม.3/2 จำนวน 28 คน ม.3/3 จำนวน 28 คน ม.3/4 จำนวน 30 คน ม.3/5 จำนวน 27 คน รวมจำนวน 127 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนาด้วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้
โดยใช้เทคนิคแบบร่วมมือ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนสังคมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t - test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.44/86.34 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาด้วงวิทยา ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบการจัด
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.69