ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสลาวิน ร่วมกับกระบวน
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดภาษาพัฒนา
ความคิดเพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางดวงฤดี โบบทอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีที่ทำวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสลาวิน ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะชุดภาษาพัฒนาความคิด เพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสลาวิน ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะชุดภาษาพัฒนาความคิด เพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสลาวิน ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะชุดภาษาพัฒนาความคิด เพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทดลอง ใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เป็นเวลา 30 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบฝึกเสริมทักษะชุดภาษาพัฒนาความคิด เพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 5) แบบทดสอบวัดความสามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ 6) แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการวิจัย
1. ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสลาวิน ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะชุดภาษาพัฒนาความคิด เพื่อพัฒนาความ สามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับมาก ( = 4.07 SD. =0.54)
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสลาวิน ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะชุดภาษาพัฒนาความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกคน
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของสลาวิน ร่วม กับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะชุดภาษาพัฒนาความคิดเพื่อพัฒนา ความสามารถและทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก( = 3.75 SD. = 0.49)