ผู้วิจัย นายประเสริฐ ต้นโนเชียง
สถานที่ โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จำนวน 24 คน 2) นักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 103 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน 4) ชมรมผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 3) คู่มือประกอบการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 4) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง พบว่า การศึกษาสภาพและปัญหา โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบขอบข่ายของงานวิชาการ 7 ขอบข่าย ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และผลการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ โดยใช้แบบสอบถาม พบว่า โดยภาพรวม ครูมีความคิดเห็นของอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.24) นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.23)
คณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.46) ชมรมผู้ปกครองมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.97)
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 3) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา 4) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับขอบข่ายวิชาการอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.45)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.26)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานวิชาการ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.37) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.35)
และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบฯ พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.27)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รอบที่ 1 ระหว่าง 18 พฤษภาคม 30 กันยายน 2559 ประชุม เพื่อสรุปผล อภิปรายและหาข้อค้นพบ ในวันที่ 26 กันยายน 2559 และรอบที่ 2 ระหว่าง 2 พฤศจิกายน 255930 มีนาคม 2560 ประชุม เพื่อสรุปผล อภิปรายผล ในวันที่ 15 มีนาคม 2560 พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ได้ดำเนินตามกิจกรรมย่อยดังนี้ การจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การวางแผนองค์กรเพื่อการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารการเรียนการสอน การจัดโครงการพัฒนาบุคลากร การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2) การทำงานเป็นทีมงานวิชาการ ฝึกทักษะ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ 3) ผลการปฏิบัติงานตามแนวทางภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการ การบริหารงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล
4. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า 1) ความพึงพอใจของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.21)
2) ความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95)
3) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมคอยู่ในระดับ มาก ( =3.69) 4) ความพึงพอใจของชมรมผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( =4.07) 5) ความพึงพอใจ โดยภาพรวมความอยู่ในระดับ มาก ( = 3.98)