ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม
ผู้วิจัย ราตรี ฉวีวงค์
สถานที่ โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหาร งานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ แบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 51 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบ
การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 45 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ประชากร ได้แก่ ผู้ปฏิบัติตามรูปแบบ จำนวน 439 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทำหน้าที่ในการให้ข้อมูล จำนวน 228 คน
ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบการบริหาร งานวิชาการ แบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 439 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม
1.1 องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วย 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) หลักการพื้นฐานการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา
1.2 สภาพและปัญหาของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม 1) สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ ปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม
2.1 รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของ
โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ขอบข่ายของงานวิชาการ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
4) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน องค์ประกอบที่ 2 หลักการพื้นฐานการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วย 1) หลักการกระจายอำนาจ 2) หลักการมีส่วนร่วม
3) หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน 4) หลักการบริหารตนเอง 5) หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล องค์ประกอบที่ 3 การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 3) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ 4) การมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล 5) การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนา
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ โดยใช้แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ จากผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการโรงเรียน พบว่า ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม สรุปได้ ดังนี้
รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน
หัวเรือพิทยาคม สามารถนำไปใชในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการได้เป็นอย่างดีเพราะมีกระบวนการปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอน ชัดเจน และง่ายตอการปฏิบัติ ทำใหเกิดประสิทธิผลของงานได้ ทำให้ครูผู้สอน และบุคลากรในสถานศึกษา มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน และมีความรับผิดชอบในการที่ตนได้รับมอบหมาย มีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างที่ตนเกี่ยวข้อง และประสานความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น แต่ละฝ่ายทำงานได้สะดวก รวดเร็วมากขึ้น ลดข้อขัดแย้งในประเด็นต่าง ๆ ลงได้ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในแต่ละฝ่ายมากขึ้น เพราะสามารถปรึกษาหารือและตัดสินใจในการทำงานได้ด้วยตนเองมากขึ้น แต่ละฝ่ายมีการแบ่งงานรับผิดชอบที่ชัดเจน แต่ทำงานในรูปของการบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก