ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model
เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางอมรรัตน์ แซ่ด่าน
ปีที่ทำการรายงาน พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อหาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี 2.1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model ตามเกณฑ์ 80/80 2.2) เปรียบเทียบความสามารถกระบวนคิดอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2.3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 9 (วัดเขาคูบา) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสระบุรี ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสอดคล้อง การหาค่าความยากง่าย
ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น การหาประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์
วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ 3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขของการใช้รูปแบบ
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีดังนี้
2.1 หาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีค่า 83.65/87.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2.2 ความสามารถกระบวนการคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด