การวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของแฮร์โรว์ นี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ
แฮร์โรว์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒
(บ้านมลายูบางกอก) โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของแฮร์โรว์ และ 3) ศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะ
การปฏิบัติ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของแฮร์โรว์ ประชากรใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) โดยใช้ขั้นตอนการจัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของแฮร์โรว์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.83/88.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการปฏิบัติ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของแฮร์โรว์ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะ
การปฏิบัติ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของแฮร์โรว์ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (μ = 4.38, σ = 0.55)