เรื่อง รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อ
การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลัก
การทางฟิสิกส์ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษาค้นคว้า กฤตนัย ล้ำจุมจัง
สถานศึกษา โรงเรียนกมลาไสย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบ
การประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดทำขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่ม
ร่วมมือ (Co-op Co-op) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์
ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.60 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.90 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพ 81.89/82.31 2) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) ผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.67 และ 32.92 ตามลำดับและพบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดเปิดโลกทัศน์การเสริมสร้างเพื่อการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ
(Co-op Co-op) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โดยรวมอยู่ในระดับมาก