ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวจุณีพร ศรีวิลัย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ชุดการเรียนรู้สู่หน้าที่พลเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 จำนวน 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 พลเมืองดีของสังคม ชุดที่ 2 สิทธิของเด็ก ชุดที่ 3 การปกครองท้องถิ่นของไทยและชุดที่ 4 วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) คู่มือการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีและ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีชื่อว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระความรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุนและเงื่อนไขการนำไปใช้ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนและแจ้งจุดประสงค์การเรียน 2) ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน 3) ขั้นสรุป 4) ขั้นวัดและประเมินผล และ 5) ขั้นสร้างความประทับใจ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 90.45/89.24 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ประกอบเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด