ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง
โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักร
การเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายนันทวัฒน์ อาสนะ
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่ แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนมัธยมหนองเขียด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 แผนการเรียนวิทย์-คณิต ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 11 แผน เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกใช้เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่ แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.92/82.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่ แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7483 หรือร้อยละ 74.83 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าทางการเรียนจริง คิดเป็นร้อยละ 74.83 ของคะแนนความก้าวหน้าสูงสุด ที่เป็นไปได้
3. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิค การแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) มีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 32.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.11 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมี ( = 4.64 S.D. = .53) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแต่ละด้าน พบว่า
ด้านบทบาทครูผู้สอน นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมี ( = 4.66, S.D. = .50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า 3 อันดับแรกที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม โดยมี ( = 4.81, S.D. = .39) รองลงมา คือ ครูกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของกลุ่มโดยมี ( = 4.7, S.D. = .43) และครูฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นโดยมี ( = 4.73, S.D. = .49)
ด้านบทบาทผู้เรียน นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมี ( = 4.74, S.D. = .47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า 3 อันดับแรกที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนได้ร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำงาน โดยมี ( = 4.90, S.D. = .31) รองลงมาคือ นักเรียนได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยมี ( = 4.85, S.D. = .41) และนักเรียนยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยมี ( = 4.79, S.D. = .46)
ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมี( = 4.59, S.D. = .55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า 3 อันดับแรกที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุดคือ ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยมี ( = 4.69, S.D. = .47) รองลงมาคือ ทำให้นักเรียนได้ ลงมือทำกิจกรรมทุกครั้ง โดยมี ( = 4.67, S.D. = .48) และทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน มีบรรยากาศการเรียนที่ดี โดยมี ( = 4.65, S.D. = .48)
ด้านการวัดและประเมินผล นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมี ( = 4.57, S.D. = .59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า 3 อันดับแรกที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนได้รับการประเมินผลที่หลากหลายรูปแบบ โดยมี ( = 4.77, S.D. = .43) รองลงมาคือ ครูแจ้งวิธีการวัดและประเมินผลให้นักเรียนทราบล่วงหน้า โดยมี ( = 4.71, S.D. = .46) และนักเรียนพอใจใน ผลการประเมินจากครูผู้สอน โดยมี ( = 4.69, S.D. = .51)