ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว โดยใช้เทคนิค จี.ไอ. เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางหนูพิน พินราช
ปี พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว โดยใช้เทคนิค จี.ไอ. ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลไม่น้อยกว่า 0.50 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว โดยใช้เทคนิค จี.ไอ. ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว โดยใช้เทคนิค จี.ไอ. ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) แบบวัดการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิชาสังคมศึกษา เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.20 - 0.75 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.87
รูปแบบในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยใช้รูปแบบ Randomized One Group Pretest Posttest Design หนึ่งกลุ่มมีการวัดผลการทดลอง 2 ครั้ง คือการทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว โดยใช้เทคนิค จี.ไอ. ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.63/80.00 และมีค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. คะแนนการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (x̄) เท่ากับ 9.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.96 และผลการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 16.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.82 แสดงว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้