ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการใช้คำถาม R-C-A
วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน เรื่องการถนอมอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ธนพรพรหมชนก พรโสภิณ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเนินสง่า อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการใช้คำถาม R-C-A วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน เรื่องการถนอมอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการใช้คำถาม R-C-A วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน เรื่องการถนอมอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (3) เอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการการเรียนรู้ (4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเนินสง่าวิทยา ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (5) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเนินสง่าวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 รวมจำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (2) นักเรียนที่ใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเนินสง่าวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบวัดทักษะชีวิต แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า การจัดการเรียนรู้ต้องเน้นผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและกระบวนการทำงาน ลงมือปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง นักเรียนมีความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่ม ใช้การวิจัยและการแก้ปัญหาเป็นฐาน ส่วนครูผู้สอนต้องการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการดำรงชีวิตและครอบครัว เกี่ยวกับการทำงานในชีวิตประจำวันทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม ส่งเสริมให้นักเรียนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิต มีทักษะชีวิต ทักษะการทำงานกลุ่มและสามารถปรับตัว ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการใช้คำถาม R-C-A วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน เรื่องการถนอมอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรียกว่า PIPTEQ Model ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล และ เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 6 ขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นเตรียม (Preparation: P) (2) ขั้นสอน (Instruction: I) (3) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Practice: P) (4) ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ (Test: T) (5) ขั้นสรุปและประเมินผลการทำงานกลุ่ม (Evaluation: E) และ (6) ขั้นใช้คำถาม R-C-A (Question R-C-A : Q) และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x - bar = 4.93 , S.D. = 0.11) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.29/81.92
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการใช้คำถาม
R-C-A วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน เรื่องการถนอมอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ทักษะชีวิตของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x - bar = 4.20, S.D. = 0.08)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการใช้คำถาม R-C-A วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน เรื่องการถนอมอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59, S.D. = 0.66)