การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทในของโครงการเกี่ยวกับความต้องการและจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงาน 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ 3) ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ของกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม คือ กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก กิจกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 156 คน จำแนกเป็นครู จำนวน 9 คนนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 70 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 70 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถาม จำนวน 9 ฉบับ ที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น ข้อคำถามเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90-0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และสัมประสิทธิ์แอลฟ่า หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและ ทุกตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัดคือ ความจำเป็นและความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกิจกรรม และระดับมาก 2 ตัวชี้วัด คือ ความสอดคล้องของนโยบาย ยุทธศาสตร์ สภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการความต้องและการจำเป็นในการจัดทำโครงการ
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด คือ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ความเพียงพอของงบประมาณ แลและระดับมาก 1 ตัวชี้วัด คือ ความพร้อมของบุคลากร
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากทุกตัวชี้วัด
ทั้งตัวชี้วัดการวางแผนการจัดกิจกรรมตามโครงการ วิธีการพัฒนาทักษะตามโครงการ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และการติดตามผล
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความพึงพอใจของครู ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่ อยู่ในระดับมาก 1 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดของทักษะการปฏิบัติงานตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหญ่