ชื่อเรื่อง แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อเสริมสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของ
โรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย นายสุบิน ทองน้อย
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอน 53 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 68 คน โดยเลือกวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม (Questionnaires) และการบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ พบว่า
1.1 สภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากมากทุกส่วน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความเข้มแข็งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการศึกษาในระบบ ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย และ ด้านการศึกษานอกระบบ
1.2 ปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรปราการ พบว่า 1) ด้านความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นปัญหาการจัดประชุม ชี้แจง บทบาทหน้าที่ ขอบข่ายภาระงาน และความเข้าใจในการร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน รวมถึงความต้องการของชุมชน 2) ด้านการศึกษาในระบบ ปัญหาการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรครูให้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง เน้นการอบรมเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีข้อมูลเพียงพอ 3) ด้านการศึกษานอกระบบ ปัญหาความไม่ชัดเจนของภาระงาน หลักสูตรไม่ตรงต่อความต้องการของเด็กและชุมชน ความร่วมมมือของคณะกรรมการเมื่อฝ่ายงานอื่นต้องการให้เข้าร่วม การแก้ปัญหาไม่เป็นระบบ และ 4) ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ปัญหาช่องทางในการประสานงานกับทุกฝ่าย และความไม่หลากหลายของการจัดสรรมรัพยากรท้องถิ่น
2. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรปราการ ดังนี้ 2.1 ด้านความเข้มแข็งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเข้าใจบทบาทของตนเองและควรเสริมสร้างประสบการณ์เรื่องบทบาทและหน้าที่ เช่น การกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาควรเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง วางแผนกำหนดเวลาและกรอบการทำงานของสถานศึกษาให้ชัดเจนให้เหมาะสม และการจัดให้มีการศึกษาดูงานในสถานศึกษาอื่น ควรเข้าร่วมประชุมทุกครั้งต้องมีส่วนร่วมในการดูแลกำกับติดตามการปฏิบัติงานของสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาดำเนินการให้เป็นไปแผนพัฒนาการศึกษา 2.2 ด้านการศึกษาในระบบพบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีส่วนร่วมประชุมเพื่อกำหนดนโยบาย เป้าหมายกลยุทธ์และทิศทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรมีส่วนร่วมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มากขึ้น แนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาและกิจการของสถานศึกษาให้มากขึ้น ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการประกันคุณภาพภายในและให้ความรู้ในเรื่องระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กับคณะกรรมการสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรของ สถานศึกษาให้กับคณะกรรมการสถานศึกษา 2.3 ด้านการศึกษานอกระบบพบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรมีส่วนร่วมประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมตามความต้องการของเด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น ควรมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมตามความต้องการของเด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น ควรมีส่วนร่วมในการร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาในการฝึกอบรมให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น 2.4 ด้านการศึกษาตามอัธยาศัยพบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กเยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น ควรช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจการและผลงานของสถานศึกษาควรสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับชุมชนเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กเยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นสามารถที่ประสานความร่วมมือการทำงานกับสถาบันการศึกษา ส่วนราชการหรือหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อให้บรรลุการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา