บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน
เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยม
ศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ)
เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย นายสุบิน ทองน้อย
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ระยะเวลาการประเมิน ปีการศึกษา 2560
การประเมินโครงการการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 1 (เยี่ยมเกษสุวรรณ) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินได้แก่ ครูผู้สอน ผู้รับผิดชอบโครงการ พระภิกษุ และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 123 คน ได้กลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970: 607-608) แล้วสุ่มแบบแบ่งประเภท (stratified random sampling) ตามสัดส่วนขนาดของสถานภาพกลุ่มประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ( f ) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยสภาพปัญหาและความต้องการมีความเหมาะสมมากที่สุด ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องกับนโยบาย มีความเหมาะสมมาก
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากโดยบุคคลากรมีความเหมาะสมมากที่สุด ส่วนการมีส่วนร่วมและการให้ความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ และงบประมาณมีความเหมาะสมมาก
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสม ในระดับมาก โดยการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการตามแผน การวางแผนการดำเนินโครงการและการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม มีความเหมาะสมมาก
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยผลการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด และคุณลักษณะของนักเรียนตามคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ มีความเหมาะสมมาก