ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การสื่อสาร
ข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการสร้าง
ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์
ผู้วิจัย นางสาวณัชชา ฮะลิพงษ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการสร้าง ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการสร้างความรู้ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อน หลังเรียนด้วยรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการสร้าง ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์ 3) เพื่อเปรียบเทียบ
ผลการประเมินตนเองในการสร้างความรู้ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการสร้างความรู้ของนักเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการสร้างความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ที่กำลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความเที่ยงตรง
ค่าความยากง่าย การหาประสิทธิภาพของ E1 /E2 และทดสอบค่าที ( t-test dependent) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบประเมินรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เกิดจากรูปแบบ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคม แบบประเมินตนเองในการสร้างความรู้ก่อนและหลัง
การใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 5 องค์ประกอบ คือ 1)บทบาทผู้เรียนและครูผู้สอน 2) ประเด็นสาระความรู้ 3) เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Facebook) 4) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 5) การวัดและประเมินผล (Evaluate) มีกระบวนการของรูปแบบการแลกเปลี่ยนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการวางแผนกิจกรรม 2) ขั้นตอนที่ 2
ขั้นกำหนดสาระความรู้ 3) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นกิจกรรมสืบเสาะแสวงหา 4) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นกิจกรรม
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความรู้ด้วยตนเอง 5) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินผล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน และจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า กระบวนการกิจกรรม
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น
ในภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.86, S.D. = 0.25) มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเท่ากับ 80.16/83.75 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผลการวิเคราะห์คะแนนการประเมินตนเอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยของคะแนนการสร้างความรู้หลังการวิจัย
อยู่ในระดับ มาก ( X-bar = 3.82 ) โดยสูงกว่าคะแนนก่อนการวิจัยอยู่ในระดับ ปานกลาง
( X-bar = 2.62 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์คะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์การส่งเสริมความรู้ t - test dependent group พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สูงขึ้นและผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียนเท่ากับ 14.50 และ 1.83 ตามลำดับ
ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนเท่ากับ 17.50 และ 1.61 การทดสอบ
แบบทางเดียว (One Tailed) พบว่า ค่า t ที่ได้จากการคำนวณมีค่าเท่ากับ 7.56 จากนั้น
ทำการเปรียบเทียบตารางหาค่าวิกฤติของ t มีค่า df ( 0.20 1.00 ) = 19 มีระดับนัยสำคัญ
ทางสถิติ 0.05 พบว่า มีค่า t จากการเปิดตารางมีค่าเท่ากับ 1.7291 ซึ่งมีค่า t ที่คำนวณได้มีค่าที่มากกว่า t ที่ได้จากตาราง แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เกิดจากรูปแบบ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน
เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยภาพรวมสรุปได้ว่านักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจ
มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของ ความพึงพอใจ คือ ความพึงพอใจในการสร้างความรู้ที่เกิดจากการใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีค่าเท่ากับ 5.00