ชื่อเรื่อง : การพัฒนาบทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)
ผู้ศึกษา : นางศรีประเสริฐ ละมั่งทอง
ปีที่ทำการวิจัย : 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาบทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้บทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้บทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) บทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 เรื่อง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ เกณฑ์การหาประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย (" x̄" ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s.d.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คือ 80/80 ซึ่งทีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เฉลี่ยเท่ากับ 89.34/85.20 แสดงให้เห็นว่าบทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้บทเรียนวิทยาศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ได้ตั้งไว้ คือ 85.42
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้เนื้อหาสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก