เรื่อง การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้ศึกษา เรืองศักดิ์ คล้ายบ้านใหม่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นการวิจัยตามแนวคิดของจอยซ์และเวลล์ (Joyce and Weil. 1992 :11)ประยุกต์ร่วมกับ กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เป็นสาระท้องถิ่น เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดรามประดิษฐ์ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ ประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแบบประเมินความพึงพอใจ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า PSQRWCRCE Model โดยมี องค์ประกอบดังนี้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ หลักการของการปฏิสัมพันธ์ หลักการของการตอบสนอง ระบบการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 9 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 กําหนดจุดมุ่งหมาย (Purpose) ขั้นที่ 2 สํารวจใจความสำคัญ (Surveys) ขั้นที่ 3 ตั้งคําถาม (Question) ขั้นที่ 4 อ่านและทําความเข้าใจ (Read and Understand) ขั้นที่ 5 บันทึกความจํา (Write) ขั้นที่ 6 วิเคราะห์วิจารณ์ (Criticism) ขั้นที่ 7 สะท้อนความคิด (Reflect) ขั้นที่ 8 สรุป (conclude) ขั้นที่ 9 ประเมินผล (Evaluation) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความ สอดคล้องกัน (IOC = 0.87) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout) กับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดรามประดิษฐ์ จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 83.95/83.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่เรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการ
เรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดี เมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ของดีเมืองปากพนัง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 17 มีการวัดและประเมินผลจากกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อ 8 มีกิจกรรมให้นักเรียนทำหลายอย่างเพื่อให้นักเรียนสนุกกับการเรียนข้อ 3 เนื้อหาส่งเสริมให้นักเรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของการอ่านและการคิดวิเคราะห์ และ ข้อ 20 มีการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน ส่วนอีก 16 ข้อ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก