ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย ว่าที่ร.ต.ประเสริฐ มะธิปิไข
หน่วยงาน โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 369 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.330.73 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ ร่างหลักสูตรฝึกอบรมและแบบประเมินโครงร่างหลักสูตร ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ครูผู้สอนจำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินความรู้ก่อนและหลัง การฝึกอบรม แบบสอบคามความพึงพอใจ แบบประเมินความเหมาะสม/ความเป็นไปได้/
ความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตร และสถิติทดสอบที (t test)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางในการพัฒนาคือ ควรพัฒนาจากสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียน เพื่อตอบสนองความต้องการได้ตรงเป้าหมาย รูปแบบของการจัดฝึกอบรมควรเป็น การปฏิบัติการ มีการบูรณาการ มีความยืดหยุ่น ใช้กระบวนการกลุ่ม ระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรมที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. หลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมมี
ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเนื้อหาสาระ กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม และวัดและประเมินผล
3. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
สรุปได้ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรมด้านทักษะ การเรียนรู้และนวัตกรรม พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.3 ครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม มีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษ ที่ 21 ได้ ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำหลักสูตรการฝึกอบรม ไปใช้กับโรงเรียนหรือหน่วยงานที่สนใจได้เพื่อเป็นการส่งเสริมการใฝ่เรียนรู้ ทักษะการคิดวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การสื่อสารและความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม การสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ สำหรับผู้เรียนได้