การจัดการความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เรื่อง การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านคีตศิลป์ไทยของวิทยาลัยนาฏศิลป มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้การสืบทอดภูมิปัญญาด้านคีตศิลป์ไทยของวิทยาลัยนาฏศิลป จากครูผู้สอนในวิทยาลัยนาฏศิลป จากการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการสืบทอดภูมิปัญญาด้านคีตศิลป์ไทยของวิทยาลัยนาฏศิลป จากครูผู้สอนในวิทยาลัยนาฏศิลป จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ นางสาวศิริวรรณ รัตนทัศนีย นางกมลพร ขาวนวล นายไตรภพ สุนทรหุต นางกรวรันท์ พันธ์ไพศาล และนางจารี อ้นนาค พบว่า
ด้านความรู้ คุณครูทั้ง 5 ท่าน ได้รับความรู้ด้านการขับร้องเพลงไทย จากครูท้วม ประสิทธิกุล ที่เป็นผู้วางพื้นฐานให้ตั้งแต่การนั่ง การเปล่งเสียง การกำหนดลมหายใจ การฝึกจังหวะ และกลวิธีที่ใช้ในการขับร้องโดยท่านได้นำเพลงตับต้นเพลงฉิ่งมาสอนเป็นเพลงเริ่มต้นในขั้นพื้นฐาน การฝึกในระยะแรกเป็นการฝึกเสียงร้องให้ตรงเสียง เริ่มมีการสอนการเชื่อมเสียงบ้าง สำหรับนักเรียนบางคนที่สามารถทำได้ ซึ่งท่านจะดูความสามารถของนักเรียนแต่ละคนเป็นหลัก ให้ความรักและดูแลลูกศิษย์อย่างใกล้ชิด ระหว่างสอนจะสอดแทรกประวัติของท่านและสอนวิธีการดำเนินชีวิต
หลังจากครูท้วมท่านได้วางพื้นฐานแล้วก็จะเป็นครูท่านอื่น ๆ ที่มารับช่วงสอนต่อไป ซึ่งได้แก่ ครูศรีนาฏ เสริมศิริ ครูทัศนีย์ ขุนทอง ครูวัฒนา โกศินานนท์ ครูประคอง ชลานุภาพ ครูวิมลวรรณ กาญจนผลิน ครูพิชญ์ญา สินธุแก้ว ครูอัมพร โสวัตร ครูอัจฉรา งามระเบียบ ซึ่งคุณครูแต่ละท่านได้มีวิธีการสอนที่เป็นแนวทางเดียวกับครูท้วม แต่อาจมีเทคนิคการสอนที่เพิ่มขึ้นบ้าง เช่น เทคนิคการจดเนื้อร้องไปท่องก่อนการต่อเพลงของครูประคอง ชลานุภาพ, วิธีการฝึกนับหน้าทับจังหวะ เพื่อตรวจสอบว่าเพลงนั้น ๆ มีกี่จังหวะ และถูกต้องครบจังหวะหรือไม่ ของครูทัศนีย์ เป็นต้น ด้านการขับร้องเพลงพื้นเมือง มีนางกรวรันท์ พันธ์ไพศาล ท่านเดียวที่ได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่
ความรู้ด้านการพากย์ เจรจา ได้รับการถ่ายทอดจากคุณครูผู้สอนนาฏศิลป์ คือ ครูเจริญ เวชเกษม ครูประพันธ์ สุคนธ์ชาติ ครูสุมน ขำศิริ ครูถนอม โหมดเทศ ครูเฉลิมชัย โกมลผลิน ครูสมบัติ แก้วสุจริต และ สำหรับความรู้ด้านการขับเสภา ได้รับการถ่ายทอดจาก ครูอุษา สุคนธมาลัย ครูชิน ศรีปู่ ครูท้วม ประสิทธิกุล ครูทัศนีย์ ขุนทอง ครูศิลปี ตราโมท และนายไตรภพ สุนทรหุต ได้รับความรู้เพิ่มเติมภายนอกจาก ครูแจ้ง คล้ายสีทอง และครูศิริ วิชเวช
การถ่ายทอดในขณะนั้นเป็นการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะ ซึ่งนักเรียนจะต้องมีการจดจำเป็นเลิศหมั่นทบทวนและฝึกซ้อม และต้องมีความกตัญญูต่อวิชาชีพเป็นสำคัญ
ด้านการถ่ายทอด เป็นการถ่ายทอดการสอนแบบสาธิต ประกอบด้วยกระบวนการสอนและเทคนิคการสอน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
- กระบวนการเรียนการสอน มีลำดับขั้นตอนการสอน ดังนี้
1. ขั้นแรก/ขั้นเตรียม เริ่มจากการฝึกบุคลิกภาพการนั่ง การใช้ลมหายใจกับจังหวะ การบันทึกเนื้อเพลง /การฟังเพลง /การฝึกลูกเอื้อนที่ใช้ในเพลงล่วงหน้า และการทบทวนเพลง
2. ขั้นการสอน เป็นการฝึกให้นักเรียนสังเกตจากการปฏิบัติของครูและให้นักเรียนปฏิบัติตาม มีการใช้สื่อประกอบการสอน เช่น เครื่องเล่นซีดี ภาพ/เสียงประกอบ จากนั้นให้นักเรียนปฏิบัติเดี่ยวและครูช่วยแนะนำและแก้ไขข้อบกพร่อง
3. ขั้นสรุป ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป จากนั้นมีการทดสอบและประเมินผลด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
- เทคนิคการสอน มีวิธีการสอนที่เป็นหลักสำคัญซึ่งใช้เสริมกระบวนการสอน ดังนี้
1. ฝึกการสังเกตจากครู ว่าครูมีวิธีการปฏิบัติอย่างไรแล้วลองปฏิบัติตาม
2. กลวิธีการขับร้องต่าง ๆ ที่ควรรู้และปฏิบัติในการขับร้อง เป็นการให้ความรู้และแนะนำวิธีการฝึกกลวิธีแบบตัวต่อตัว เช่น การฝึกกลวิธีการขับร้องหมู่ การแก้ไขปัญหาลมหายใจไม่พอ ฝึกกลวิธีการขับร้องเรื่องการใช้ลม การขยับริมฝีปาก การขึ้นเสียงนาสิก
3. ให้นักเรียนบันทึกเสียงเพื่อกลับไปทบทวน เป็นการฝึกทบทวนความรู้และฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ
4. ให้ความรู้โดยพิจารณาจากพื้นฐานนักเรียนเป็นสำคัญ
5. การนำหลักการใช้กลวิธีการขับร้องมาใช้ให้เหมาะสม
6. การสังเกตตนเองเกี่ยวกับการใช้ลม / เสียงที่ถูกกระทบกับร่างกาย
7. การใช้หลักจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ สรีระวิทยา การวิจัย
8. การผสมผสานทฤษฎีสากล
9. ทักษะการบูรณาการรวมวง
ด้านการพัฒนา แบ่งออกเป็นการพัฒนาที่เกิดจากภายนอกและการพัฒนาที่เกิดจากภายใน ซึ่งเป็นการส่งเสริม / สนับสนุน หรือการสร้าง ที่เป็นผลทำให้ผู้สอนหรือผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อสืบทอดและพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
- การพัฒนาที่เกิดจากภายนอก ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อการอนุรักษ์ เช่น การแสดงโขนสมเด็จฯ การเผยแพร่ และการประชาสัมพันธ์ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การพัฒนาที่เกิดจากภายใน ได้แก่
1. การนำสื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน
2. การจัดทำสื่อ เอกสารประกอบการเรียนการสอนเพื่อใช้ในการช่วยฝึกซ้อม
3. ครูพัฒนาต้องตนเอง โดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในระดับที่สูงขึ้นเพื่อนำความรู้มาต่อยอดพัฒนานักเรียนต่อไป
4. ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนตามสภาพนักเรียนเป็นหลัก
5. มีความกตัญญูต่อวิชาชีพ ดูแลและเคารพเชื่อฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ ไม่ประพฤติหรือกระทำตนให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อวิชาชีพ
6. การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
7. การอบรมมาตรฐานหลักสูตร และจัดโครงการสัมมนาวิชาการ เพื่อพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้จากดั้งเดิม
8. การวิจัย เป็นการช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
9. การจัดทำโครงการให้สอดคล้องกับหลักสูต