ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม
ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผู้วิจัย เพ็ญศรี จันทร์พาหิรกิจ
สถานที่ โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา
ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคมด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
และ ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนงัวบาวิทยาคมในปีการศึกษา 2559 จำนวน 387 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหาร งานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูวิชาการโรงเรียน ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาของผู้ให้ข้อมูล โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหาร
งานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูที่ปฏิบัติการสอน และนักเรียน โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ปีการศึกษา 2559 จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการดำเนินงาน ระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนงัวบาวิทยาคม จำนวน 387 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนงัวบาวิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง ( = 3.13) และ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนงัวบาวิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89)
2. รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคมด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) ผู้นำทางวิชาการ 3) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา 4) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็คแทกการ์ท (Kemmis & McTaggart, 1988)
3. การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า รอบที่ 1 วันที 16 พฤษภาคม 30 กันยายน 2559 ประชุมสรุปผลในวันที่ 30 กันยายน 2559 และรอบที่ 2 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 31 มีนาคม 2560 ประชุมเพื่อสรุปผลในวันที่ 24 มีนาคม 2560 พบว่า 1) ผลการปฏิบัติงานตามขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล 2) ผู้นำทางวิชาการ ได้ดำเนินตามกิจกรรมย่อย ดังนี้ กำหนดวิสัยทัศน์ด้านการจัดการศึกษา หลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักธรรมชาติ ใช้ยุทธศาสตร์ความแตกต่างทางความคิด เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดหลักการเปลี่ยนแปลง การสื่อสาร 3) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหาร งานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.42) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และ ครูผู้สอน