การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้
แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบูเกะกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
1. แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 เล่ม คือ อักษรควบ ร อักษรควบ ล อักษรควบ ว และอักษรควบไม่แท้
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชุด มี 20 ข้อ 20 คะแนน เป็นแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก
3. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 แผน 20 ชั่วโมง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การทดสอบด้วยนัยสำคัญด้วย t-test Dependent (บุญชม ศรีสะอาด. 2547:113) 2) หาคะแนนเฉลี่ยและคะแนนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ (บุญชม ศรีสะอาด. 2547:105,109) 3) การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ
ผลที่ได้รับ
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าประสิทธิภาพของกระบวนการซึ่งประเมินจากกระบวนการเรียน โดยพิจารณาจากคะแนนของแบบฝึกทักษะระหว่างการจัดการเรียนการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง 4 เล่ม ได้ประสิทธิภาพตัวแรก (E1) เท่ากับ 85.03 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ซึ่งเป็นการประเมินผลโดยนำคะแนนจากการประเมินผลหลังเรียน ได้ประสิทธิภาพตัวหลัง (E2) เท่ากับ 85.55 ดังนั้น จึงสรุป ได้ว่า แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยได้เกณฑ์ประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44/84.12
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียนใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.94 สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.53 และเมื่อทำการทดสอบ ค่า t (t-test dependent) แล้วพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1.1 ในการจัดทำแบบฝึกทักษะการเขียนคำควบกล้ำ ครูผู้สอนควรเลือกคำที่กำหนดมาให้นักเรียนเขียนมีความเหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของผู้เรียน
1.2 การจัดกิจกรรมในแต่ละแบบฝึกทักษะ ครูควรชี้แจงวิธีการทำ ความมีวินัยในตนเองรวมทั้งความซื่อสัตย์ โดยให้ผู้เรียนใช้ความสามารถของตนเอง และมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการสร้างแบบฝึกทักษะเขียนคำประกอบภาพการ์ตูนสีในเนื้อหาอื่นๆ ที่ครูเห็นว่าเป็นปัญหา และยากสำหรับนักเรียนในทุกชั้นเรียน หรือนักเรียนที่เรียนอ่อน
2.2 ควรมีการวิจัยการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะกับเนื้อหากลุ่มสาระอื่นๆ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นต้น