บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ
การวิจัยในชั้นเรียนของครูพัฒนาสู่ผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ
ชื่อผู้วิจัย ศศิพรรณ โพธิแท่น
ปีที่ศึกษา 2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ 4) เพื่อประเมินผลการทดลองและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ กลุ่มเป้าหมายเป็น ครู จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูพัฒนาสู่ผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ แบบรับรองความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูพัฒนาสู่ผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ แบบทดสอบ การจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาและการวิจัยในชั้นเรียน แบบประเมินทักษะการนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักศาสตร์พระราชา แบบสังเกตพฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูพัฒนาลงสู่ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t test (dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู สรุปว่า โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ควรเร่งขับเคลื่อนนโยบาย การจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูพัฒนาสู่ผู้เรียน เป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถนำแนวทางการจัดการศึกษาตามศาสตร์พระราชา สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนา พบว่า องค์ประกอบรูปแบบการจัดการศึกษาตาม หลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ใช้รูปแบบ ATCT Model ประกอบด้วย 1) ประเมินความต้องการ (Assessing Need : A) 2) การให้ความรู้ (Training : T) 3) การแก้ปัญหาโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research : C) 4) การขยายผลสู่ชั้นเรียน (Transportability : T) ส่วนการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ภาพรวม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก
ตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ ผู้วิจัยได้นำทดลองใช้ครู พบว่าการทดสอบความรู้ของครูก่อนและหลังการอบรม เท่ากับ 5.50 และ 16.83 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู พัฒนาลงสู่ผู้เรียน ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเหนือ พบว่า 1) ทักษะการนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก 2) การประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักศาสตร์พระราชา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) สังเกตพฤติกรรมการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินความ พึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตามหลักศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยใน ชั้นเรียนของครูพัฒนาลงสู่ผู้เรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก