บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีกาสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “ESACA Model” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ แนวคิด ทฤษฏีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอนของรูปแบบ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation : E) 2) ขั้นกระตุ้นความใฝ่รู้ (Stimulation : S) 3) ขั้นวางแผนและปฏิบัติ (Action : A) 4) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Application : A)
ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบกลุ่มใหญ่ (Filed Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 83.93/80.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีดังนี้
2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยรวมและรายด้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานโดยรวม และรายด้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4 นักเรียนมีความพึงพอใจที่ต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิคการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน