คําชี้แจง
๑. แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีทั้งหมด ๑๐ แบบฝึกคือ
แบบฝึกที่ ๑ คำไทยมีอะไรบ้าง
แบบฝึกที่ ๒ ใช้เรียกชื่อคือคำนาม
แบบฝึกที่ ๓ เรียกคำนามตามลักษณะ
แบบฝึกที่ ๔ คำสรรพนามตามผู้พูด
แบบฝึกที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
แบบฝึกที่ ๖ คำชัดเจนด้วยวิเศษณ์
แบบฝึกที่ ๗ เชื่อมคำด้วยบุพบท
แบบฝึกที่ ๘ คำต่อเนื่องด้วยสันธาน
แบบฝึกที่ ๙ คำอุทานแสดงอารมณ์
แบบฝึกที่ ๑๐ คำไทยในชีวิตประจำวัน
แบบฝึกแต่ละชุดมีจุดประสงค์และเนื้อหาสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒. จุดประสงค์ เนื้อหา ของแต่ละชุดเสร็จสมบูรณ์ในตัวเอง ผู้เรียนสามารถใช้ได้ด้วยตนเอง
๓. ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ด้วยการตรวจคำตอบจากเฉลยท้ายแบบฝึก
คู่มือการใช้
แบบฝึกชุดที่ ๕
จุดประสงค์ของแบบฝึก
เมื่อทำแบบฝึกแล้วนักเรียนสามารถ
๑. อธิบายความหมายของคำกริยาได้
๒. บอกชนิดของคำกริยาได้
๓. บอกหน้าที่ของคำกริยาและใช้คำกริยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ขั้นตอนการปฏิบัติ
การเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ มีลำดับขั้นในการทำกิจกรรมตามลำดับ ดังนี้
๑. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามระดับความสามารถแบบเรียนแบบร่วมมือกัน เรียนรู้
๒. นักเรียนทำกิจกรรมในชั้นเรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๓. เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเรียบร้อย สมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่มนำแบบฝึก เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ ไปฝึกปฏิบัติเมื่อเสร็จแล้ว ให้สมาชิกที่มีหน้าที่ตรวจ แบบฝึกตรวจ หลังจากนั้นอธิบายข้อที่สมาชิกทำผิด
๔. เมื่อทำแบบฝึกได้ครบถ้วนทุกข้อแล้ว นักเรียนทำแบบทดสอบประจำ แบบฝึกเรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ โดยครูเน้นให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ ในการทำแบบทดสอบ และทำอย่างเต็มที่เนื่องจากเป็นคะแนนของกลุ่ม ต้องทำให้ ถูกต้องไม่ต่ำกว่า ๘ ข้อ
๕. ถ้าสมาชิกในกลุ่มคนใดทำแบบทดสอบประจำแบบฝึกได้ต่ำกว่า ๘ ข้อ ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยอธิบายให้สมาชิกคนนั้นฟังอีกครั้ง เมื่อมีความเข้าใจ มากขึ้น แล้วให้ทำแบบแบบทดสอบประจำแบบฝึกใหม่ คะแนนที่ได้ถือว่าเป็นคะแนน ที่สามารถทำได้ดีที่สุด
การประเมินผล
๑. เมื่อนักเรียนทำแบบทดสอบประจำแบบฝึกเรียบร้อยแล้ว นำคะแนน ที่นักเรียนทำได้ดีที่สุดมาเปรียบเทียบกับคะแนนมาตรฐานของแต่ละคน เพื่อเป็นคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล
๒. นำคะแนนความก้าวหน้าของสมาชิกในกลุ่มหาค่าเฉลี่ยเพื่อเป็นคะแนน ของกลุ่ม
๓. นำคะแนนแบบทดสอบของแบบฝึกเรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ เป็นคะแนนมาตรฐานในการคิดคะแนนความก้าวหน้าในการทำแบบทดสอบประจำ แบบฝึกทักษะเรื่องต่อไป
ฟังคุณครูชี้แจงแล้ว ก่อนที่จะเริ่มศึกษาบทเรียน
ในแบบฝึก เรามาทำแบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง คำกริยาบอกอาการ ก่อนนะครับ
.
แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้กาษาไทย เรื่องที่ ๕ คำกริยาขอกอาการ
คำชี้แจง ข้อสอบทั้งหมด ๑๐ ข้อ ๑๐ คะแนน
ให้นักเรียนอ่านคำถามแล้วทำเครื่องหมาย (x) กับข้อ ก ข ค หรือ ง ในกระดานคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
๑. คำราชาศัพท์ในข้อใดเป็นคำกริยา
ก. พระปิตุลา
ข. เสวย
ค. พระเก้าอี้
ง. พระภูษา
๒. ข้อใดไม่ใช่วิกตรรกกริยา
ก. ติ๋มมีหน้าเหมือนดารามาก
ข. คุณครูให้วาดรูปเหมือน
ค. เขาเตี้ยเหมือนมะขามข้อเดียว
ง. เขาใจคำเหมือนอีกา
๓. ข้อใดมีกริยานุเคราะห์
ก. ลูกแมวกำลังนอนหลับอยู่
ข. แป๋มออกกำลังกายทุกวัน
ค. นักกีฬายกน้ำหนักมีกำลังไม่เท่ากัน
ง. เขาชอบใช้กำลังมากกว่าสมอง
๔. คุณแม่กวาดลานบ้านสะอาดมาก คำที่ขีดเส้นใต้เป็นกริยาชนิดใด
ก. สกรรมกริยา
ข. อกรรมกริยา
ค. วิกตรรถกริยา
ง. กริยานุเคราะห์
๕. แม่คือครูคนแรกของลูก ประโยคที่ขีดเส้นใต้ คำใดเป็นวิกตรรถกริยา
ก. แม่
ข. ครู
ค. คือ
ง. คนแรก
๖. คำว่า ขัน ในข้อใดเป็นสกรรมกริยา
ก. ไก่ขันยามเช้า
ข. ช่างขันน็อตรถ
ค. เหน่งชอบพูดตลกขบขัน
ง. น้อยถือขันตักน้ำ
๗. นิดกับน้อยใส่ชุดเหมือนกันมาในงาน ข้อความนี้เป็นกริยาชนิดใด
ก. สกรรมกริยา
ข. อกรรมกริยา
ค. วิกตรรถกริยา
ง. กริยานุเคราะห์
๘. นักเรียนควรส่งงานให้ตรงเวลา ข้อความนี้เป็นกริยาชนิดใด
ก. สกรรมกริยา
ข. อกรรมกริยา
ค. วิกตรรถกริยา
ง. กริยานุเคราะห์
๙. ประโยคในข้อใดเป็นอกรรมกริยา
ก. ดอกกุหลาบหอม
ข. นกจิกข้าวโพด
ค. ฉันเหมือนคุณยาย
ง. ครูชมลูกศิษย์
๑๐. คำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น คือคำกริยาชนิดใด
ก. สกรรมกริยา
ข. อกรรมกริยา
ค. วิกตรรถกริยา
ง. กริยานุเคราะห์
ทำแบบทดสอบก่อนเรียนแล้ว นักเรียนศึกษาใบความรู้
เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ กันก่อนนะครับ
จุดประสงค์ของแบบฝึก
๑. อธิบายความหมายของคำกริยาได้
๒. บอกชนิดของคำกริยาได้
๓. บอกหน้าที่ของคำกริยาและใช้คำกริยา
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ใบความรู้ที่ ๑
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนามและคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองบางคำ สนอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ เช่น
เด็กหญิงร้องไห้ (เด็กหญิง เป็นคำนาม แสดงกริยาร้องไห้)
เธอว่ายน้ำ (เธอ เป็นคำสรรพนาม แสดงกริยาว่ายน้ำ)
ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
ระหว่างฤดูร้อนนี้เราพัฒนาหมู่บ้านของเรา
นักเรียนต้องอ่านหนังสือทุกวันจึงจะดี
ผมจะศึกษาวิชาคำนวณอย่างถ่องแท้
อรัญญาร้องเพลงเก่ง
เป็ดว่ายน้ำได้
เขาถูกต่อย
สุนัขถูกรถชน
คนเจ็บสลบไปแล้ว
บ้านหลังนั้นทรุดโทรมมาก
ซีเมนต์แข็งแล้ว
สุนัขอ้วนขึ้นทุกวัน
แม่น้ำอะเมซอนกว้างที่สุดในโลก
คำกริยา แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑. สกรรมกริยา
๒. อกรรมกริยา
๓. วิกตรรถกริยา
๔. กริยานุเคราะห์
ใบความรู้ที่ ๒
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
กริยาที่ไม่ต้องมีกรรม (อกรรมกริยา)
คือ คำกริยาที่มี ความหมายครบถ้วนในตัวเอง โดยไม่ต้องมีกรรมมารับ และประโยคมีความหมายสมบูรณ์ เช่น
เด็กร้องไห้
นกบินสูง
รถวิ่ง
ครูยืน เด็กวิ่ง
น้องนั่ง
ฝนตกหนัก
เด็กๆ หัวเราะ
คุณลุงกำลังนอน
เขานั่ง
เขายืนอยู่ ผีเสื้อบิน
อ้อ ! ....คำต่อไปนี้ส่วนใหญ่ เป็นอกรรมกริยา
ได้แก่ นั่ง นอน ยืน เดิน ไป ร้องไห้ คะ
ใบความรู้ที่ ๒
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
กริยาที่ต้องมีกรรม (สกรรมกริยา)
๑. คำกริยาที่มี ความหมายไม่ครบถ้วนในตัวเอง จึงต้องมีกรรมมารองรับ การกระทำ ประโยคจึงจะได้ใจความที่สมบูรณ์ เช่น
- แม่กวาดบ้าน (ถ้าบอกว่า แม่กวาด ประโยคนี้ก็จะไม่ได้ใจความ อังนั้นจึงต้องมี บ้าน มาทำหน้าที่กรรมในประโยค เพื่อให้รู้ว่า แม่กวาดบ้าน)
- ฉันทำการบ้าน (ถ้าบอกว่า ฉันทำ ประโยคนี้ก็จะไม่ได้ใจความ ดังนั้น จึงต้องมี การบ้าน มาทำหน้าที่กรรมในประโยค เพื่อให้รู้ว่าฉันทำการบ้าน)
๒. ลักษณะหนึ่งของสกรรมกริยาคือ เมื่อเราเห็นคำกริยาในประโยคนั้น ๆ แล้วต้องสามารถถามต่อไปได้ว่า อะไร เช่น ตีอะไร ชอบอะไร มีอะไร เห็นอะไร ฯลฯ ดูตัวอย่างต่อไปนี้
- แม่กวาดบ้าน (แม่กวาดอะไร)
- เด็กยิงนก (เด็กยิงอะไร)
- ฉันทำการบ้าน (ฉันทำอะไร)
๓. กรรมที่มารับนั้นอาจมีทั้งกรรมตรง และกรรมรอง เช่น
ครูแจกสมุดให้แก่นักเรียน (สมุด เป็นกรรมตรง นักเรียน เป็นกรรมรอง) ฉันถวายชุดสังฆทานแด่พระสงฆ์ (ชุดสังฆทาน เป็นกรรมตรง พระสงฆ์ เป็นกรรมรอง)
พี่ชายให้ขนมแก่น้อง ๆ ทุกคน (ขนม เป็นกรรมตรงน้อง ๆ เป็นกรรมรอง) ประธานมอบธงแก่ผู้มาร่วมชุมนุม (ธง เป็นกรรมตรง ผู้มาร่วมชุมนุม เป็นกรรมรอง) คุณตาแจกเงินให้แก่หลาน ๆ (เงิน เป็นกรรมตรง หลาน ๆ เป็นกรรมรอง)
ข้อควรจำ คำบางคำอาจเป็นได้ทั้งอกรรมกริยา และสกรรมกริยา ดังนั้นเวลาใช้ต้องดูรูปประโยคด้วย เช่น
- หน้าต่างบานนี้ปิด (ปิด ในที่นี้เป็นอกรรมกริยา)
- ฉันปิดหน้าต่างบานนี้ (ปิด ในที่นี้เป็นสกรรมกริยา)
- เขาเปิดฝากระโปรงรถ (เปิด ในที่นี้เป็นสกรรมกริยา)
- ฝากระโปรงรถเปิด (เปิด ในที่นี้เป็นอกรรมกริยา)
อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรม ส่วน สกรรมกริยา
คือ กริยาที่ต้องมีกรรมอย่าจำสับสนกันนะครับ
ใบความรู้ที่ ๔
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา)
คือ คำกริยาที่ ความหมายไม่สมบูรณ์ในตัวเอง จึงต้องมีคำนาม คำสรรพนาม มาเป็นส่วนขยาย หรือมีข้อความหรือส่วนเติมเต็มมาต่อท้ายคำกริยาเหล่านั้น จึงจะได้ใจความสมบูรณ์
คำกริยาหรือวิกตรรถกริยาเหล่านี้ได้แก่คำว่า คล้าย เป็น เท่า เหมือน คือ ดุจว่า เช่น
นายสีเป็นพ่อค้าข้าว
เธอคล้าย ฉัน
ทำได้เช่นนี้เป็น ดีแน่
เขาพูดเสมือนเด็กอ่อนสอนพูด
เขาทำงานประดุจเครื่องจักรทำงาน
วิภามีหน้าตาคล้ายแม่ของเธอ
ซึ่งข้อความที่นำมาเติม หรือเป็นส่วนขยาย (คนจริงจังกับชีวิต คนที่ดี ทั้งกาย วาจาและใจ) เราเรียกว่า ส่วนเติมเต็ม
ไม่เข้าใจให้ดูตัวอย่าง
นะครับ
ใบความรู้ที่ ๕
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์)
คือ กริยาที่ใช้ประกอบกริยาสำคัญในประโยค เพื่อให้ความหมายของ กริยาหลักนั้นชัดเจนขึ้น
กริยา ช่วย ได้แก่คำว่า กำลัง แล้ว อาจ คง ต้อง จะ คงต้อง คงจะ น่า น่าจะ จึงองควร เคย ได้ ได้รับ ถูก โคน ย่อม ยัง อย่า ฟัง ชะรอย โปรด ช่วย ได้....แล้ว เคย...แล้ว น่าจะ...แล้ว เช่น
ฉันกำลังอ่านหนังสือ
นักเรียนน่าจะทำการบ้านมาแล้ว
กริยา ช่วยอีกชนิดหนึ่งคือ คำที่ไม่มีความหมายในตัวเอง แต่ต้องอาศัย คำกริยาชนิดอื่นจึงจะมีความหมาย ได้แก่คำว่า ซิ นะ เถอะ ละ นะ หรอก เช่น
ฉันไม่ไปด้วยหรอก
ดึกแล้วนอนเถอะ
ข้อควรจำ คำกริยาบางตัวอาจเป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาช่วย ดังนั้น เวลาใช้ต้องดูรูปประโยคด้วย กล่าวคือ ถ้าเป็นกริยาช่วยต้องมีกริยาแท้อยู่ในประโยค แต่ถ้าไม่มีกริยาแท้ อยู่ในประโยคแสดงว่าคำนั้นเป็นกริยาแท้ เช่น
ผมต้องทำงาน (กริยาช่วย)
ฉันได้รับของแล้ว (กริยาช่วย)
เขาต้องตัวฉัน (สกรรมกริยา)
เขาได้คะแนนเต็ม (สกรรมกริยา)
ใบความรู้ที่ ๖
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๕ คำกริยาบอกอาการ
หน้าที่ของคํากริยา
๑. เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค เช่น
นักธุรกิจ อ่านหนังสือพิมพ์
สตรี มีสิทธิทัดเทียมบุรุษ
๒. ขยายคำนาม เช่น
วันเสาร์นี้คือวันออกเดินทาง
เจ้าภาพงานเปลี่ยนรายการอาหารเลี้ยงแขก
คนแต่งตัวสวยเป็นคนน่าดู แต่งตัวสวย ขยายคำนาม คน
ฉันชอบผู้หญิงตัดผมสั้น ตัดผมสั้น ขยายคำนาม ผู้หญิง
ฉันชอบขับรถบนถนนตัดใหม่ ตัดใหม่ ขยายคำนาม ถนน
๓. ขยายกริยาด้วยกัน เช่น
ฉันเดินเล่นในตอนเย็น
เธอนั่งมองท้องฟ้าคนเดียว
คุณยายเดินหาแว่นตา
๔. ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
นอนเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด (นอน ทำหน้าที่เป็นประธาน)
ฉันชอบเดินเร็ว ๆ (เดินเร็ว ๆ ทำหน้าที่เป็นกรรม)
เที่ยวกลางคืนมักมีอันตราย (เที่ยวกลางคืน ทำหน้าที่เป็นประธาน)
อ่าน หนังสือมาก ๆ ทำให้ฉลาด (อ่าน ทำหน้าที่เป็นประธาน)
ฉันไม่ชอบร้องเพลง (ร้องเพลง เป็นกรรมของกริยา ชอบ)
คนในท้องถิ่นนั้นนิยมฟ้อนรำ (ฟ้อนรำ เป็นกรรมของกริยา นิยม)
กริยาที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามเหล่านี้ เราเรียกอีกอย่างว่า กริยาสภาวมาลา โดยจะเติมคำว่า การ เข้าข้างหน้าได้ โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน เช่น การนอน เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด (นอนเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด)
๕. วางไว้หน้าประโยค ได้แก่คำว่า (เกิด มี ปรากฏ) เช่น
เกิดไฟไหม้ที่ตลาด
มีข่าวร้ายจะแจ้งให้ทราบ
ปรากฏร่องรอยนิ้วมือของผู้ร้าย
เขาชอบออกกำลังกาย (ออกกำลังกายเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม เป็นกรรมของประโยค)
กินมากทำให้อ้วน (กินมากเป็นกริยาที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
นอนเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอนเป็นกริยาทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
ข้อสังเกต
เราอาจเติม การ หน้าคํากริยา จะได้ความหมายเช่นเดียวกัน
ตัวอย่าง
การเดินตอนเช้าเป็นการออกกำลังกาย
การอ่านทุกวันสร้างสรรค์ปัญญา
การกินอาหารตามเวลาช่วยให้สุขภาพดี
ฉันไม่ชอบการเอาเปรียบ