ชื่อเรื่อง การพัฒนาการพัฒนารูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางเกษราพร อรุณปิยเศรษฐ์
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อนำไปใช้จริงและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
วิธีการวิจัยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 โรงเรียน และการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลของวิชาวิทยาศาสตร์ และแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนและเอกสารประกอบการใช้รูปแบบการโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จำนวน 8 ท่าน จากนั้นนำของรูปแบบการเรียนและเอกสารประกอบการใช้รูปแบบการเรียนที่ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญมาทำการทดลองใช้เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียน
อรพิมพ์วิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ และคู่มือประกอบการใช้รูปแบบฯ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกสภาพการจัดการเรียนการสอน 3) การนำไปใช้จริงและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอรพิมพ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ และคู่มือประกอบการใช้รูปแบบฯ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกสภาพการจัดการเรียนการสอน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มที่ 1 ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพชั้นเรียนและบรรยากาศการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จัดสภาพชั้นเรียนโดยให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม มีขั้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยการตั้งคำถาม ขั้นสอนส่วนใหญ่ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยครูเป็นผู้บรรยายและให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาในแบบเรียนหรือใบความรู้ประกอบการบรรยาย การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่เน้นด้านความรู้โดยให้นักเรียนปฏิบัติการทำใบงานหรือแบบฝึกหัด มีการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองในเนื้อหาที่มีการทดลอง และมีการนำเสนอผลการทดลองเป็นบางครั้งเนื่องจากเวลาไม่เพียงพอ ครูส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของสมองในการพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ควรมีการนำเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถของสมอง เช่น เทคนิคการเรียนแบบโครงงาน การเรียนโดยใช้สมองเป็นฐาน การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น 2) ผลการศึกษา แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมหลากหลาย การเรียนรู้ของนักเรียนจะเกิดขึ้นระหว่างที่นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทำกิจกรรมการเรียนเหล่านั้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ซึ่งเป็นการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองไปใช้เป็นเครื่องมือการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน พบว่า 1) รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบได้แก่ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน ระบบสังคม และผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) เอกสารประกอบการใช้รูปแบบการเรียน ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน ซึ่งผลการประเมินเอกสารประกอบการใช้รูปแบบการเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 81.98/81.70 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 การวิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์และคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์และคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์ค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 พบว่า มีจำนวนนักเรียน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43. ที่มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งร้อยละของจำนวนนักเรียนดังกล่าวต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
3. ผลการนำไปใช้จริงและศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน พบวา 1) ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในขั้นนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพ 82.07/81.98 ซึ่งค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 79.31 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าให้จำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 มีคะแนนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง เอกภพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด