ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียน
เทศบาล ๑ (ถนนนครนอก)
ผู้วิจัย กาญจนา จันทมัตตุการ
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู และการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ศึกษาสภาพการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู โดยเก็บข้อมูลจากตัวแทนครูผู้สอนที่สังกัดโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) จำนวน 48 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู จำนวน 5 ท่าน 2) สร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) โดยการนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบและประเมินรูปแบบด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน 3) ทดลองใช้รูปแบบ โดยการทดลองใช้กับครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 4) ประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) โดยการสอบถามความคิดเห็นของตัวแทนครูผู้สอนที่สังกัดโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) จำนวน 48 โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ประกอบด้วย 1) ทักษะการตั้งคำถาม 2) ทักษะการสังเกต 3) ทักษะการทดลอง 4) ทักษะการสร้างเครือข่าย 5) ทักษะการเชื่อมโยง
องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ประกอบด้วย 1) การสร้างความตะหนัก 2) การพัฒนาตนเอง ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อ การพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ (PLC) ได้แก่ การจัดการความรู้ การใช้ระบบพี่เลี้ยง การสร้างเครือข่าย การสร้างบรรยากาศ การบูรณาการองค์ความรู้ การสร้างทีมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) การติดตาม และ 4) สะท้อนผล
องค์ประกอบที่ 3 การบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ประกอบด้วย 1) การสร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การคิดวิเคราะห์ 2) การกำหนดโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา 3) ระบบของสถานศึกษาที่ก่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์ 4) รูปแบบของภาวะผู้นำการคิดวิเคราะห์ 5) การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 6) ค่านิยมร่วมของสถานศึกษา 7) ทักษะการบริหารองค์กรการคิดวิเคราะห์
2. ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นด้วยกับร่างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู วิธีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู และการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า โรงเรียนดำเนินตามขั้นตอนในรูปแบบอย่างครอบคลุม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและนำผลการประเมินไปใช้ ทำให้การบริหารทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) เป็นไปอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ครูได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์มากขึ้น
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) พบว่า
4.1 ผลการประเมินรูปแบบในภาพรวมและตามองค์ประกอบหลักทั้ง 3 องค์ประกอบได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู วิธีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู และการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
4.2 ผลการประเมินความเป็นไปได้ (x ̅ = 4.76, S.D. = 0.12) ความเหมาะสม (x ̅ = 4.82, S.D. = 0.07) และความเป็นประโยชน์ (x ̅ = 4.88, S.D. = 0.04) ของรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า มีปัญหาคือ ครูไม่แม่นยำในการนำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ข้อเสนอแนะ ควรจัดอบรมชี้แจงและสาธิตการใช้รูปแบบเพื่อการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ