ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
ในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย ปรีชา ศรีทา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อศึกษาอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงจากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1. กลุ่มผู้ระดมความคิดเห็นจากการวิเคราะห์ข้อมูล (Focus Group) จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงราย 2. กลุ่มผู้แสดงความคิดเห็นจากการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 8 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 12 คน ในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงราย 3. กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน 2) คณะครูปฏิบัติการสอน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน 3) นักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 117 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 103 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 105 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 116 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 112 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 122 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วย ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 117 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 103 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 105 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 116 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 112 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 122 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 105 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 122 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 105 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 122 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2555 : 123) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย พบว่า การจัดการศึกษาทุกระดับต้องสร้างความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน โดยสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารสถานศึกษา การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนารอบด้านอย่างสมดุลกัน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข ดำเนินชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานภูมิปัญญาที่เกิดจากการใช้ความรู้และทักษะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การพัฒนานวัตกรรม สอดคล้องกับกรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หรือ Thailand 4.0 โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเน้นให้ทุกหน่วยงาน/ฝ่ายงาน นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ มาเป็นหลักในการบริหารงานและบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ ฝ่ายบริหารให้ความใส่ใจในการดำเนินงานบริหารจัดการสถานศึกษาและการนิเทศติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงสร้างความตระหนักให้ครูในการเห็นความสำคัญของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 เพื่อนำไปสู่ผลการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย มีชื่อว่า รูปแบบโพสต์คอร์บ พลัสทรี POSDCORB Plus 3 Model ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 Planning : P (การวางแผน) ขั้นที่ 2 Organizing : O (การจัดองค์การ) ขั้นที่ 3 Staffing : S (การจัดอัตรากำลัง)
ขั้นที่ 4 Directing : D (การชี้นำ) ขั้นที่ 5 Coordinating : CO (การประสานงาน) ขั้นที่ 6 Reporting : R (การรายงาน) ขั้นที่ 7 Budgeting : B (การงบประมาณ) และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสม/เป็นไปได้ของปัจจัยพื้นฐานการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน (ด้านงานวิชาการ ระดับชั้นประถมศึกษา) พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสม/เป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบโพสต์คอร์บ พลัสทรี POSDCORB Plus 3 Model โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ( 0.50)
3. อุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงจากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก