การพัฒนาชุดฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สรรค์สร้างสิ่งรอบตัว กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอน
การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สรรค์สร้างสิ่งรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สรรค์สร้าง
สิ่งรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สรรค์สร้างสิ่งรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้ พบว่า
1. ชุดฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สรรค์สร้างสิ่งรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอนการจัด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.01/84.16 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สรรค์สร้างสิ่งรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง สรรค์สร้างสิ่งรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.86, S.D. = 0.34)