ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย
ผู้ศึกษา ปรีชา ศรีทา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว 3) เพื่อประเมินกระบวนการของการจัดกิจกรรมในโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน คณะกรรมการชมรมผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 18 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน พนักงานครูเทศบาล จำนวน 36 คน รวมทั้งสิ้น 38 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จำนวน 70 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามฉบับที่ 1 แบบสอบถามเพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการชมรมผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครูโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว เป็นผู้ตอบแบบประเมิน 2) แบบสอบถามฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการชมรมผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครูโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว เป็นผู้ตอบแบบประเมิน 3) แบบสอบถามฉบับที่ 3 แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการ โดยผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครูโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว เป็นผู้ตอบแบบประเมิน 4) แบบสอบถามฉบับที่ 4 แบบสอบถามเพื่อประเมินกระบวนการ โดยผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นผู้ตอบแบบประเมิน 5) แบบสอบถามฉบับที่ 5 แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิต โดยการประเมินความพึงพอใจ ของผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว
6) แบบสอบถามฉบับที่ 6 แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิต โดยการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ และ 7) แบบสอบถามฉบับที่ 7 แบบสอบถามเพื่อประเมินผลผลิต โดยการประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการของการจัดกิจกรรมในโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งการประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว และผู้ปกครองนักเรียน
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย ด้านระดับความพึงพอใจ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งการประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว
ผลการประเมินผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว จังหวัดเชียงราย ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ของนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษฯ พบว่า ในภาพรวม ค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
ในวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ในขณะที่วิชาคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 85.71 ส่วนค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม วิชาวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 100.00 วิชา SCIENCE และ MATH คิดเป็นร้อยละ 98.57 วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ 95.71 และวิชาคณิตศาสตร์เข้ม คิดเป็นร้อยละ 91.43 ตามลำดับ