ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้ประเมิน :
ปีที่รายงาน : นายธงชัย เหมเกียรติกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
2560
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 60 คนนักเรียน จำนวน 292 คน รวมทั้งสิ้น 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสรุปข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และฉบับที่ 4 แบบสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) รายละเอียดดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนมากอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) รายละเอียดดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) รายละเอียดดังนี้
3.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก 3.2 ผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3.3 นักเรียน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีการประเมินใน 2 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน สรุปผลได้ดังนี้
4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
4.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก 4.1.2 ผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก 4.1.3 นักเรียน โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ 4.2.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก 4.2.2 ผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4.2.3 นักเรียน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ในปีการศึกษา 2559 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 96.02 ปีการศึกษา 2560 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100.00 โดยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2559
ร้อยละ 3.98