ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ พลังประชารัฐ โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปี การศึกษา 2560
ผู้รายงาน นางสาววนิดา ไหมพรม
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสทิงพระวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ พลังประชารัฐ โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปี การศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด และความเป็นไปได้ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน ติดตามกำกับและประเมินผลนำมาปรับปรุงและพัฒนา และ4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย การประเมินเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาทักษะอาชีพ ดังนี้ 4.1) คุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ พลังประชารัฐ โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 4.2) พฤติกรรมการสอนของครูในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน 4.3) ทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 และ 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ พลังประชารัฐ โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรครู ปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 108 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 108 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ และแบบบันทึกเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับการพัฒนาด้าน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้โปรแกรม SPSS Version 18 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการประเมินพบว่า
1. ระดับคุณภาพของการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ พลังประชารัฐ โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2560 หลังการพัฒนาโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือผู้ปกครอง อยู่ในระดับปานมาก ส่วนเครือข่ายชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน สอดคล้องตามสมสมมติฐาน
2. ระดับคุณภาพของพฤติกรรมการสอนของครูในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมาคือนักเรียน อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมสมมติฐาน
3. คุณภาพของทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 พบว่าโรงเรียนมีการจัดทักษะอาชีพที่หลากหลายสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจของนักเรียน และบริบทของท้องถิ่นและความต้องการ ส่งผลให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถดูแลตนเองและแบ่งเบาภาระครอบครัวได้ สอดคล้องตามสมสมมติฐาน
4. ระดับคุณภาพความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ พลังประชารัฐ โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ส่วนเครือข่ายชุมชนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกันสอดคล้องตามสมสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 โรงเรียนควรความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายชุมชน ถึงความสำคัญในการพัฒนาพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพราะจะส่งผลให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถดูแลตนเองและแบ่งเบาภาระครอบครัวได้
1.2 การดำเนินกิจกรรมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และควรประเมินผลผลิตด้านทักษะอาชีพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูการพัฒนาและเสริมแรงสร้างขวัญกำลังใจ ตลอดจนแนวโน้มในการต่อยอดเพื่อเป็นอาชีพในโอกาสต่อไป
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ส่งผลต่อทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน เช่น ด้านการตลาด การบรรจุหีบห่อที่สวยงามและมีมาตรฐานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
2.2 ควรศึกษาทักษะอาชีพของท้องถิ่นหรือชุมชนดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ไว้และพัฒนาสู่ความเป็นสากลหรือสินค้าโอทอป