ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์)
ผู้วิจัย ประทีป ทวีศรี
สถานที่ โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) ที่มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) 3) เพื่อหาค่าประสิทธิผลของชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการสอนด้วยชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 24 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน 2) นิทาน เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ จำนวน 1 ฉบับ 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) พบว่า นักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน เท่ากับ 31.63 คิดเป็นร้อยละ 73.06 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 26.88 คิดเป็นร้อยละ 89.58 แสดงว่า ชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 79.06/89.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ E1/E2 เท่ากับ 75/75
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) ก่อนเรียน และ หลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 19.29 คิดเป็นร้อยละ 32.15 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 26.88 คิดเป็นร้อยละ 44.79 แสดงว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไป ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนจากการทำแบบการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เท่ากับ 0.7068 แสดงว่า หลังจากการเรียนด้วยชุดพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.68
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้นิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) พบว่า โดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( = 4.33) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.65)