ผู้รายงาน นายเจษฎา นากดี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1 เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดการสอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนจากชุดการสอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t test
ผลการวิจัยพบว่า
1 การออกแบบและพัฒนาชุดการสอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.46/83.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเชื่อมั่นได้ว่าชุดการอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว นี้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้
2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6457
3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นั่นคือ ผลการสอนด้วยชุดการสอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว นี้ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนรายบุคคล รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี 9 สาระการดำรงชีวิต และครอบครัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด