บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
-----------
1. ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการ
จัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
ผู้วิจัย นายจักรกฤษณ์ ถินคำเชิด รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ (ปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง)
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึกษา 4.0 (Education 4.0) คือ การเรียนการสอนที่สอนให้นักศึกษา สามารถนํา องค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรม ต่าง ๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม ซึ่งการเรียนการสอนในปัจจุบัน ยังคงห่างไกลในหลาย ๆ มิติ เช่น ไม่เคยสอนให้ผู้เรียนได้คิดเองทําเอง ส่วนใหญ่ยังคงสอนให้ทําโจทย์แบบเดิมๆ อีกเรื่องคือผู้เรียนเริ่มไม่รู้จักสังคม ส่วนใหญ่ใช้เวลาในโลกออนไลน์ไปกับเกมส์ การช้อปปิ้ง การแชท เฟสบุ๊ค ไลน์และอินสตราแกรม ส่วนใหญ่มันเป็นสังคมมายา ซึ่งเทคโนโลยีไม่ได้ผิด แต่เหรียญมีสองด้าน เทคโนโลยีก็เช่นกัน จะนําไปใช้ในด้านใดให้เกิดประโยชน์ เป็นความยากและท้าทายของผู้ที่ต้องทําหน้าที่สอนในยุคนี้ เพราะการเรียนการสอนในยุค 4.0 ต้องปล่อยให้ผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยี ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปล่อยให้กล้าคิดและกล้าที่จะผิด แต่ทั้งหมดก็ยังคงต้องอยู่ในกรอบที่สังคมต้องการหรือยอมรับได้ ไม่ใช่ว่าเก่งจริง คิดอะไรใหม่ๆ ได้เสมอและมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งปัจจัยหลักของการใช้เทคโนโลยีที่เกิดความคุ้มค่า ได้แก่ (พรชัย เจดามาน และคณะ. 2559 : 3) 1) การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) เครื่องมือสําคัญสําหรับการค้นหาความรู้ เป็นแหล่งข้อมูลที่สําคัญ ดังนั้นทางการศึกษาต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าถึง Internet ได้ง่ายมากกว่ามอง Internet เป็นผู้ร้ายแล้วกลัวว่าผู้เรียนจะใช้ Internet ไปในทางที่ไม่ดี ไม่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ 2) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นพรสวรรค์ หลักสูตรการเรียนการสอนควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนกล้าที่จะคิดนอกกรอบหรือต่อยอดจากตําราเรียน และ 3) การปฏิสัมพันธ์กับสังคม (Society Interaction) เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและทํางานร่วมกันในสังคมได้ ควรมีกิจกรรมที3สนับสนุนการทํางานแบบเป็นกลุ่มหรือทีม ปัจจัยดังกล่าว ถ้าทําได้ดีการศึกษา 4.0 จะสามารถสร้างและพัฒนาคน ให้สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ มาปะติดปะต่อและประยุกต์เข้ากับงานที่ทําให้สามารถต่อยอดและพัฒนาได้
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (Professional Learning Community) หรือ PLC มีพื้นฐานมาจาก ภาคธุรกิจเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรในการเรียนรู้ (Thompson et al. 2004) กล่าวได้ว่า PLC เกิด จากการประยุกต์แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ประยุกต์สู่โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ประเทศไทยมีการจัดการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545) และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ที่จะให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และปัญญา (Wisdom and Learning Society) โดยพัฒนาคุณภาพคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน นำสูสั่งคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของระบบการศึกษาไทย ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชาชนทั้งประเทศ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทยให้เจริญรุ่งเรือง ทัดเทียมกับประเทศอื่นได้ การปฏิรูปการศึกษาไทยในรอบแรกได้กำหนดให้มีหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จตามนโยบายที่กำหนดไว้ โดยประสบปัญหาในภาคการปฏิบัติ เนื่องจาก ครู ขาดความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ นอกจากนี้ ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งที่เป็นเอกสารหรือสื่อต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิธีการดำเนินงาน จึงทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษารอบสอง โดยปรับระบบการศึกษาใหม่เกือบทั้งหมด (ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล และณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์. 2552: 7) การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2552 - 2561) พยายามที่จะแก้ปัญหาในด้านการพัฒนาคุณภาพครู เพื่อให้ครูมีสมรรถนะเพียงพอที่จะพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ เนื่องจากครูเป็นบุคลากรที่สำคัญของการศึกษาและมีส่วนในการพัฒนาสังคมครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ให้ความรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้สามารถสื่อสาร ความคิด แก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย รักชาติ และ Darling Hammond (1999) ได้กล่าวถึงการพัฒนาครูเป็นทั้งการพัฒนาบุคลากร และพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทั้งสมรรถนะเชิงวิชาชีพครู และพัฒนาผู้เรียนไปในเวลาเดียวกัน การสร้างผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อสังคมได้นั้น ครูผู้สอนจะต้องมีความพร้อมโดยการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่องจากความร่วมมือในการทำงาน เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู และวิจารณ์ พานิช (2554 : 184-186) PLC คือ เครื่องมือให้ครูทุกคนได้มีโอกาสเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายหลักที่ผลการเรียนรู้ของนักเรียน แต่ที่จริง แล้วยังมีผลลัพธ์ที่การเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยสิ้นเชิง (School Transformation) อีกด้วยนั่นคือ วิธีทำงานเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนไป วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไปโรงเรียนจะกลายเป็นองค์กรเรียนรู้ ผู้คนจะไม่หวงความรู้ จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอย่างเข้มข้นและไม่เป็นทางการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู (Teacher Professional Learning Community) เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนในวิชาชีพครูที่มีความรู้ ความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปันเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน ทำให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปประยุกต์และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ชุมชนแห่งการเรียนรู้จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของครูจากวัฒนธรรมแบบเดิมที่ทำงานอย่างโดดเดี่ยว มาเป็น การทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยมุ่งมั่นให้เกิดผลลัพธ์ต่อสมรรถนะทางวิชาชีพสำหรับครูและทักษะ การเรียนรู้ของนักเรียนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดสังคมแห่งความรู้ที่อาศัยความร่วมมือเป็นฐานในการปรับตัวและสรรสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู เป็นชุมชนที่ทำให้เกิดการปรับปรุง ทักษะ เจตคติ ความเข้าใจ กระตุ้นการปฏิบัติงานของครูและกลุ่มครู พัฒนาจากการฝึกอบรมเป็นระบ (Systematic Training) เป็นการพัฒนาตนเอง (Self-Development) เป็นการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) จนในที่สุดกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของครูอย่างต่อเนื่อง
นักวิชาการได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมมากมาย เช่นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการที่ จะทำให้เกิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมขึ้นในองค์กรหรือไม่ คือ ผู้นำ จากแนวคิดของเฮ้าส์ (House. 1971:460-465) ผู้นำที่สามารถทำให้เกิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้ 1) มีการแบ่งปันข่าวสารข้อมูล (Sharing of Information) หมายถึง ปริมาณข่าวสารที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับ มีจำนวนมากน้อยเพียงใด และการใช้ข้อมูลในการบริหารมากน้อยเพียงใด และอย่างไร กับผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน กับคนที่มีบุคลิกครอบงำ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพลต่อผู้อื่น เอาใจใส่กับความคิดเห็นต่าง ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริง และความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ค่อยแสดงออก ช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในการสื่อสารกับคนอื่น 2) การแบ่งปันอำนาจ (Sharing of Power) หมายถึงผู้นำกระจายอำนาจไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชามีมากน้อยเพียงใด กระตุ้นให้มีการเสนอทางเลือกต่าง ๆ ชะลอการประเมินทางเลือกไว้ จนกว่าจะเสนอออกมาหมดแล้ว ชี้แนะกระบวนการกลั่นกรองทางเลือก เลือกแนวทางแก้ไข การตัดสินใจต้องไม่เป็นระบบประจำ ซ้ำซาก (Routine) ข้อมูลในการตัดสินใจต้องไม่เป็นมาตรฐานเกินไปและไม่เป็นระบบศูนย์กลาง 3) การแบ่งปันอิทธิพล (Sharing of Influence) คือ การยอมรับในอิทธิพลของผู้ใต้บังคับบัญชามีมากน้อยเพียงใด ในการตัดสินใจแต่ละครั้งต้องให้เวลากับสมาชิกในการเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชาจะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อเมื่อ รู้ถึงความจำเป็นในเรื่องของเสรีภาพที่ได้รับ รู้ถึงความชอบธรรมของตนต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รู้สึกถึงความสามารถของตนในการเข้าร่วมตัดสินใจและเชื่อมั่นในความสามารถของตน องค์ประกอบทั้ง 3 ประการ จะเป็นตัวบ่งชี้ บรรดาผู้นำในองค์กร ต่าง ๆได้เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานได้มากน้อยเพียงใด ความมากกว่าหรือน้อยกว่า จะเป็นตัวที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานว่าเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ (Positive or Negative) ซึ่งธรรมชาติของการบริหารแบบมีส่วนร่วมประการหนึ่ง คือ การลดอำนาจ (Reduce Power) ของผู้บริหารให้อยู่ในภาวะที่เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับผู้ปฏิบัติงาน สำหรับฮัลโลแรน (Halloran) เปรียบผู้นำแบบมีส่วนร่วมว่าเป็นผู้นำตามทฤษฎี Y ของแมคแกรเกอร์ (McGregor) เหตุผลเพราะผู้บริหารมองว่าคนงานเป็นคนตามทฤษฎี Y ผู้บริหาร ก็จะบริหารคนแบบ Y คือให้เกียรติ ให้ความเชื่อถือ และมอบหมายงานให้รับผิดชอบ
การวิจัยและพัฒนาเป็นงานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรมและสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ ๆ (มนต์ชัย พงศนฤวงษ์. 2552 : 10-12) ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภทคือ 1) การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมมติฐานของเหตุการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนหรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในทางปฏิบัติ 2) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และ 3) การวิจัยทดลอง (Experimental Research) เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ และนำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือ จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ผลิตผลและเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อสร้างกระบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ ๆ ขึ้นและปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์ หรือก่อตั้งแล้วให้ดีขึ้น ซึ่งมนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์ (2552: 11) ได้สรุปไว้ว่า การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยรูปแบบหนึ่งที่อาศัยหลักการของการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์และการวิจัยทดลองเพื่อให้ได้นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าในเชิงทฤษฎี ความรู้ใหม่ ๆ และเป็นการศึกษาที่เป็นระบบ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่แล้ว มาปฏิบัติงานสร้าง สิ่งใหม่ โดยมีการตรวจสอบและปรับปรุงการดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยทุกขั้นตอน
โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายและเป้าหมายการดำเนินการดังนี้ คือ ดำเนินการส่งเสริมให้มีการบริหารงานทุกงาน ทุกขั้นตอนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ใช้หลักธรรมาภิบาลและทฤษฎีระบบในการบริหารงาน เพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในการมีส่วนร่วมร่วมคิดร่วมทำ ร่วมประเมินตรวจสอบ ร่วมปรับปรุงพัฒนา ระหว่างคณะครู บุคลากร ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อส่งผลให้นักเรียน ดี เก่ง และมีความสุข ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ สอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ ตลอดจนปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติโดยคำนึงถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนานักเรียนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณ (ผู้บริหาร ครู บุคลากรสนับสนุนอื่น ๆ ในโรงเรียน)
ได้จัดให้มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง และส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสร้างความตระหนักให้นักเรียน บุคลากรเห็นถึงความสำคัญของชุมชน ร่วมมือกับชุมชนในโอกาสต่างๆ ด้วยความเต็มใจและเหมาะสม ส่งเสริมสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้ควบคู่ไปกับการดำเนินงานทั้ง 4 ฝ่ายของโรงเรียน เพื่อบรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลให้นักเรียน ดี เก่ง มีสุข และดำเนินงานของโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 ด้านดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพนักเรียน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหาร เน้นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ชุมชน และอัตลักษณ์ของโรงเรียน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและสากล ต่อไป
ผู้วิจัยในฐานะรองผู้อำนวยการสถานศึกษา รับผิดชอบในด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง มีความสนใจในพัฒนาการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระที่มีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งานของครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน และให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ 1 และยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การพัฒนาการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน และการพัฒนาระบบบริหาร เน้นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ชุมชน และอัตลักษณ์ของโรงเรียน ได้ใช้แนวคิดในการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยส่งเสริมให้มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม ร่วมประเมินผล ร่วมภาคภูมิใจ ระหว่างผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทุกขั้นตอน ทุกระบบงานย่อยสู่งานใหญ่ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมกันทุกกิจกรรมในสถานศึกษา และที่สำคัญต้องนำไปสู่การศึกษายุค 4.0 ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จนก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง จึงมีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษานักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
4. เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
4. ระเบียบวิธีการวิจัย
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง เป็นการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ดปีการศึกษา 2560 เป็นหน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis)โดยมีแนวคิดสำคัญที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง และความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาในครั้งนี้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 382 คน ได้แก่ ครู จำนวน 70 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 298 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการเปิดตารางเครจซี่แอนด์มอร์แกน (มาเรียม นิลพันธุ์. 2555 :120 ; อ้างอิงมาจาก Krejcie and Morgan. 1970 : 608) โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัด การเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง และการสนทนากลุ่ม
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
5. ผลการวิจัย
5.1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
การเสนอผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง คำถามการวิจัยข้อที่ 1 คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในวิเคราะห์สภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง พบว่า โรงเรียนได้จัดให้การการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ซึ่งยังไม่มีคุณภาพเพียงพอเหมาะแก่การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ยังไม่สมบูรณ์ ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนและครูที่มีความต้องการพัฒนาการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ให้เหมาะสมกับสภาพตามนโยบายการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอนต่อไป ดังนั้นการศึกษายุคใหม่ต้องเน้นแสวงหาการเรียนรู้ได้เอง อย่างท้าทาย สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม คิดและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมาะกับตนเอง สังคม ตามสถานการณ์การจัดการศึกษา 4.0
5.2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
ผลสร้างและพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ได้รูปแบบกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยประยุกต์ขึ้นใช้ชื่อเรียกว่า PAOE Model ซึ่งได้พัฒนาตามหลักการและแนวคิดการออกแบบตามรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และแนวคิดทฤษฎีรูปแบบของนักการศึกษา นักจิตวิทยาและนักวิชาการ โดยมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนองและสิ่งสนับสนุน โดยมีส่วนประกอบดังนี้ P: Planning = การวางแผน A : Action = การปฏิบัติ O : Observation= การสังเกต และ E : Evaluation = การประเมินผล ในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการประเมินความเหมาะสม ปรากฏว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบนี้
5.3 การทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
ผลการดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ได้มีการนำรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ไปแจ้งในที่ประชุมเพื่อปรึกษาหารือในการดำเนินงานพัฒนารูปแบบให้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ได้ทราบถึงกระบวนการดำเนินการ ผลการทดลองใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5.4 การประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
การประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ปรากฏว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน มีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
6. ข้อเสนอแนะ
ผู้วิจัยใคร่ขอเสนอแนะการวิจัยเชิงนโยบายและการนำเสนอเชิงนำไปใช้ ดังนี้
1. ข้อเสนอเชิงนโยบาย
1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดเป็นนโยบายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาในการพัฒนาการบริหารจัดการในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาของผู้เรียนอย่างแท้จริง
1.2 ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน
1.3 ผู้บริหารควรมีการวางแผนเพื่อพัฒนาบุคลากรในเรื่องการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ
1.4 ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมการจัดนิทรรศการของครูในแต่ละปีการศึกษา เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ครูได้มีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ในหลากหลายกิจกรรมมากขึ้น
2. ข้อเสนอเชิงนำไปใช้
2.1 ควรนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระ ให้ครูและนักเรียนรู้จักการมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับสภาพของการเรียนการสอน
2.2 ครูควรมีการพัฒนาการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในการพัฒนาวิชาชีพของตนเองให้สามารถนำมาใช้ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้เกิดประสิทธิภาพต่อศูนย์ชุมชนการเรียนรู้ต่อไป
2.3 ครูควรมีการเชื่อมโยงบูรณาการในการเชื่อมโยงกลยุทธ์ตามวิชาชีพให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของตนเองให้มากขึ้น
2.4 ครูที่ผ่านการพัฒนาแล้ว ควรจะมีการพัฒนาต่อไปโดยอาจจะใช้วิธีการพัฒนาวิชาชีพ(PLC) ในการสอนแบบใหม่ ๆ ในวิชาที่สอนเดิม หรือการใช้วิธีการสอนแบบเดิมกับวิชาใหม่ เพื่อเปรียบเทียบว่าให้ผลแตกต่างกันหรือไม่หลังจากการที่ได้มีการพัฒนาแล้ว
ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาการพัฒนาครูในการบริหารจัดการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับการสอนแบบบูรณาการทางวิชาชีพ
2. ควรศึกษารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิจัยเชิงปฏิบัติการ
1. ควรศึกษาภาวะผู้นำในการบริหารจัดการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ประโยชน์ต่อนักเรียน
1.1 ทำให้นักเรียนได้รู้จักใช้ประโยชน์จากการพัฒนาการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ที่เหมาะสมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมากขึ้น
1.2 นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้การมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของสถานศึกษาจนทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน
2. ประโยชน์ต่อครู
2.1 ใช้เป็นรูปแบบและข้อสนเทศ ให้ครูได้นำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมในการการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยิ่งขึ้น
2.2 ทำให้ครูได้แนวทางในการจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาล วัดสระทอง ให้เกิดประสิทธิภาพด้านการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
3. ประโยชน์ต่อผู้บริหาร
เป็นรูปแบบและข้อสนเทศสำหรับให้ผู้บริหาร ได้นำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาประสิทธิภาพ ในการมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่นักเรียนมากขึ้น
4. ประโยชน์ต่อโรงเรียน
4.1 เป็นข้อสนเทศสำหรับสถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดในการนำไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมในพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาต่อไป
4.2 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ดได้นำข้อสนเทศที่ได้ ไปปรับปรุงและแก้ไข จุดด้อยของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ให้มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553
4.4 โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แนวทางในการพัฒนาการมี ส่วนร่วมในการรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษา
5. ประโยชน์ต่อชุมชน
5.1 ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือต่อกันในการบริหารจัดการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5.2 โรงเรียนและชุมชนได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้เกิดประสิทธิภาพต่อ การบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อไป
----------------------------------------------