ผู้วิจัย : นางสาวชนนิกานต์ เรืองฉิม
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1
สถานที่ศึกษา : โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหัวทาง)
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กนักเรียนชาย หญิง ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3/1 ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านหัวทาง) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองสตูล อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 เล่ม 2. แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 18 แผน 18 ชั่วโมง 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 1 ชุด และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมด้วยวิธี E1/E2 การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที (t-test) และการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม โดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.46/81.90 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 23 คน มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง มาตราสะกดไม่ตรงมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.07, S.D. = 0.55)