เอกสารประกอบการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำซ้อน
นางศิริพรรณ ดวงพิลา
โรงเรียนหล่มสักวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๔๐
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คำนำ
เอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำซ้อน ฉบับนี้ เป็นเครื่องมือที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ นักเรียนสามารถฝึกทักษะเพิ่มเติมจากเนื้อหา พร้อมทั้งประเมินผลตนเองได้จากเฉลย โดยเน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบ
การเรียนทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน
เอกสารประกอบการเรียนฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ดี ต้องขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำ และเป็นกำลังใจ ทำให้เอกสารประกอบ
การเรียนฉบับนี้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการศึกษาหาความรู้ในเรื่อง คำซ้อน กับตนเองหรือกลุ่มผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ศิริพรรณ ดวงพิลา
สารบัญ
หน้า
คำนำ
คำแนะนำการใช้เอกสารประกอบการเรียน ๑
สาระสำคัญ ๒
จุดประสงค์การเรียนรู้ ๒
แบบทดสอบก่อนเรียน ๓
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน ๔
คำซ้อน ๕
ใบงานที่ ๑ ๙
เฉลยใบงานที่ ๑ ๑๐
ใบงานที่ ๒ ๑๑
เฉลยใบงานที่ ๒ ๑๒
ใบงานที่ ๓ ๑๓
เฉลยใบงานที่ ๓ ๑๔
ใบงานที่ ๔ ๑๕
เฉลยใบงานที่ ๔ ๑๖
ใบงานที่ ๕ ๑๗
เฉลยใบงานที่ ๕ ๑๘
แบบทดสอบหลังเรียน ๑๙
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ๒๐
บรรณานุกรม ๒๑
คำแนะนำการใช้เอกสารประกอบการเรียน
เอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้ สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะได้ประโยชน์จากบทเรียนตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
๑. นักเรียนอ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนลงมือศึกษาเอกสารประกอบการเรียน
๒. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนแล้วบันทึกคะแนนไว้
๓. ศึกษาบทเรียนตามลำดับโดยไม่ต้องรีบร้อน เมื่อเข้าใจแล้วให้ทำใบงาน
หรือตอบคำถามทุกข้อ
๔. เมื่อทำกิจกรรมเสริมความรู้แล้วให้นักเรียนตรวจดูเฉลยหน้าถัดไป ถ้าตอบผิดให้กลับไปศึกษาบทเรียนและตอบคำถามอีกครั้งเมื่อตอบถูกแล้วจึงศึกษาเรื่องต่อไป
๕. นักเรียนต้องไม่ดูเฉลยก่อนทำกิจกรรมเสริมความรู้หรือแบบทดสอบ ก่อนเรียน - หลังเรียน ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
๖. นักเรียนต้องศึกษาบทเรียนนี้ด้วยตนเอง ถ้ามีปัญหาหรือข้อสงสัยให้ปรึกษาผู้สอนทันที
๗. ให้นักเรียนเขียนคำตอบลงบนกระดาษคำตอบ และห้ามขีดเขียนข้อความใดๆลงในบทเรียนนี้
๘. เมื่อศึกษาจบแล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจคำตอบ
จากเฉลยแล้วนำผลคะแนนที่ได้ไปเปรียบเทียบกับคะแนนครั้งก่อน
๙. ส่งคืนเอกสารประกอบการเรียนตามกำหนดเวลาและต้องรักษาให้อยู่ใน สภาพดีและไม่สูญหาย
สาระสำคัญ
คำซ้อน คือคำประสมชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย คำมูล ที่มีความหมาย
ที่ต่างกันหรือเหมือนกัน หรือประเภทเดียวกัน นำมาเรียงซ้อนเข้าด้วยกันแล้วทำให้
เกิดความหมายใหม่ขึ้นมา แต่ยังรักษาเค้าความเดิมอยู่ หรือความหมายอาจไม่เปลี่ยนแปลงไปแต่ทำให้ความหมายชัดยิ่งขึ้น
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. บอกลักษณะของคำซ้อนได้
๒. บอกหลักการสร้างคำซ้อนได้
แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง คำซ้อน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว (ข้อละ ๑ คะแนน)
๑. ข้อใดกล่าวถึงคำซ้อนไม่ถูกต้อง
ก. คำที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
ข. คำที่เกิดอิสระไม่ได้กับคำที่เกิดอิสระได้
ค. คำที่มีความหมายกับคำที่ไม่มี
ความหมาย
ง. คำที่ขึ้นต้นด้วยด้วยพยัญชนะเสียง
เดียวกันหรือมีเสียงสระคู่กัน
๒. ข้อใดมีการสร้างคำแบบคำซ้อน
ก. เสียงเบา ข. เหี่ยวแห้ง
ค. ซักผ้า ง. หักใจ
๓. ข้อใดมีคำซ้อนทุกคำ
ก. ทุบตี ทุกข์ใจ ข. แห้งผาก แล้งน้ำ
ค. เพิ่มเติม เริ่มเดิน ง. ช้าเร็ว อกหัก
๔. คำในข้อใดไม่เป็นคำซ้อนทุกคำ
ก. ซักฟอก ทิ้งขว้าง
ข. ข่มเหง ข่มใจ
ค. คัดเลือก เดือดร้อน
ง. หักดิบ หยิบมือ
๕. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ
ดินถิ่นเดิมลุกร้อนดังไฟแผดเผา ฟืนสุมเตาเจ้าคงเจ้าเคยยัดใส่เตา คราวผู้คนบนพื้นดินเดิมปากหมอง ไยไม่มองไม่เคยเหลียวแลเห็นแก่ตัว
ก. ๒ คำ ข. ๓ คำ
ค. ๔ คำ ง. ๕ คำ ๖. ข้อใดเป็นคำซ้อนที่เกิดจากคำที่มีความหมายเหมือนกันทั้งสองคำ
ก. ร้ายแรง ข. เกะกะ
ค. เดือดร้อน ง. ยู่ยี่
๗. ข้อใดเป็นคำซ้อนที่เกิดจากคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน
ก. ญาติโยม ข. พัดวี
ค. บาปบุญ ง. ซากศพ
๘. คำในข้อความต่อไปนี้ คำใดใช้คำซ้อนไม่ถูกต้อง ใจเธอคร่ำเคร่ง(๑)อยู่กับการนัดหมาย(๒)ในค่ำคืน(๓)นี้ด้วยมีสัญญายึดเหนี่ยว(๔)กันอยู่
ก. คำที่ ๑ ข. คำที่ ๒
ค. คำที่ ๓ ง. คำที่ ๔
๙. ข้อใดใช้คำซ้อนไม่ถูกต้อง
ก. เป็นผู้หญิงต้องเดินเหินให้เรียบร้อย
ข. สำรวมหน่อยคุณละเอียด อย่าร้องเรียนเอะอะ
ค. ทำอะไรเสียงดังโครมคราม เดี๋ยวเพื่อนบ้านก็ตื่นหรอก
ง. อาการป่วยของเขาหนักมาก เขาเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้สักส่วน
๑๐. ข้อใดใช้คำซ้อนผิดความหมาย
ก. กรกฎพูดจาตอกย้ำเพื่อนเสมอ
ข. สิงหาทำงานด้วยความรวดเร็ว
ค. กันยาใช้ชีวิตแบบหรูหราติดดิน
ง. ตุลารู้สึกซาบซึ้งทุกครั้งที่ถูกตักเตือน
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง คำซ้อน
๑. ค
๒. ข
๓. ง
๔. ง
๕. ข
๖. ค
๗. ค
๘. ก
๙. ข
๑๐. ง
คำมูล
คำซ้อน
คำซ้อน คือคำประสมชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย คำมูล ที่มีความหมายที่ต่างกัน หรือเหมือนกัน หรือประเภทเดียวกัน นำมาเรียงซ้อนเข้าด้วยกันแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นมา แต่ยังรักษาเค้าความเดิมอยู่ หรือความหมายอาจ ไม่เปลี่ยนแปลงไป แต่ทำให้ความหมายชัดยิ่งขึ้น เช่น บ้านเรือน คับแคบ ข่มขู่ ขีดข่วน คัดเลือก ดูแล เท็จจริง ถูกผิด สดใส ซ่อมแซม จับจ่าย บอกกล่าว เข้มแข็ง นุ่มนวล กวดขัน เข้มข้น ฯลฯ
คำซ้อน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
๑. คำซ้อนเพื่อความหมาย
๒. คำซ้อนเพื่อเสียง
คำซ้อนเพื่อความหมาย เป็นลักษณะการนำคำที่มีความหมายซ้อนกัน และคำที่นำมาซ้อนกันนั้น จะมีความหมายคล้ายคลึงกัน หรือใกล้เคียง หรือเป็นไป ในทำนองเดียวกัน เช่น ใหญ่โต เรือแพ แหอวน อ้วนพี มากมาย เติบโต เสื่อสาด ยืนยัน ซากศพ รูปร่าง ทรัพย์สิน ข้าทาส จิตใจ ซื่อสัตย์ สาปแช่ง สูญหาย แก่นสาร เงียบเหงา เขียวขจี แบบฉบับ ถนนหนทาง ทรวงอก หุ้นส่วน ห้างร้าน ชื่อแซ่ กักตุน แบบแปลน แบบฟอร์ม ฯลฯ
คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น และมีเสียงคล้องจองกัน ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น บางครั้งเรียกว่าคำควบคู่ ซึ่งมีวิธีการซ้อนคำเพื่อเสียง ดังนี้
๑) นำคำที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกัน แต่ประสมสระต่างกันมาซ้อนกัน เช่น เร่อร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ เงอะงะ จอแจ ร่อแร่ จริงจัง ทึกทัก โฉ่งฉ่าง อุ้ยอ้าย โอ้กอ้าก โครมคราม โด่งดัง รุ่มร่าม เอะอะ เปะปะ ตุกติก ท้อแท้ เก้งก้าง ขึงขัน ตึงตัง เงอะงะ กุกกัก จุ้นจ้าน ซุ่มซ่าม โผงผาง เกะกะ ชิงชัง เฮฮา ฯลฯ
๒) นำคำที่มีความหมายซ้อนกับคำหลังที่ไม่มีความหมายเพื่อให้เกิดคำคล้องจองและสะดวกในการออกเสียง ซึ่งช่วยเสริมคำนำหน้าหรือคำหลังก็ได้ ทำให้เน้นความหรือเน้นเสียงให้หนักแน่น ส่วนมากเป็นภาษาพูด เช่น กินแกน พูดเพิด ไปเปย กงการ กะโตกกะตาก กระดูกกระเดี้ยว พยายงพยายาม อ่านเอิ่น นอนเนิน สอบเสิบ ดีเดอ ฯลฯ
๓) นำคำที่มีพยางค์ต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวกันมาซ้อนกัน เช่น จิ้มลิ้ม เบ้อเร่อ แร้นแค้น ออมชอม อ้างว้าง ราบคาบ เรื่อยเฉื่อย อ้อมค้อม ฯลฯ
๔) นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกันประสมกับสระเดียวกัน แต่ละตัวสะกดคล้ายกันมาซ้อนกัน เช่น ลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย ฯลฯ
๕) นำคำซ้อนบางคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน มาซ้อนกันแต่เพิ่มพยางค์เพื่อการออกเสียงสมดุลกัน เช่น จมูกปาก เป็นจมูกจปาก สะกิดเกา เป็น สะกิดสะเกา ขโมยโจร เป็น ขโมยขโจร ฯลฯ
๖) คำซ้อนบางคำ อาจเป็นคำซ้อนที่เป็นคำคู่สัมผัสกัน เช่น เกะกะระราน กระโดดโลดเต้น บ้านช่องห้องหอ ข้าเก่าเต่าเลี้ยง กตัญญูรู้คุณ ผลหมากรากไม้ โกหกพกลม ติดอกติดใจ เข้าไต้เข้าไฟ ถึงพริกถึงขิง ร้อนอกร้อนใจ บทกฎหมาย สืบสาวราวเรื่อง ว่ากล่าวตักเตือน ข้าวยากหมากแพง ตีอกชกตัว
หน้าสิ่วหน้าขวาน ว่านอนสอนง่าย อาบน้ำอาบท่า เลี้ยงดูปูเสื่อ ฯลฯ
ใบงานที่ ๑
ชื่อ.................................................................................ชั้น .................เลขที่

คำชี้แจง ให้นักเรียนสร้างคำซ้อนจากคำที่กำหนดให้ ให้ได้ชุดละ ๒ คำ
๑. ขัด ..........................................................................................................
๒. ก้าว..........................................................................................................
๓. ข่ม...........................................................................................................
๔. ติด...........................................................................................................
๕. แข้ง.........................................................................................................
เฉลยใบงานที่ ๑
๑. ขัดข้อง ขัดขืน
๒. ก้าวก่าย ก้าวร้าว
๓. ข่มเหง ข่มขี่
๔. ติดตาม ติดต่อ
๕. แข็งแรง แข็งกร้าว
ใบงานที่ ๒
ชื่อ.........................................................................................ชั้น .................เลขที่

คำชี้แจง ให้นักเรียนสร้างคำซ้อนจากคำที่กำหนดให้
๑. แก้...............................
๒. ........................แผน
๓. ..........................หลาบ
๔. เกลือก.........................
๕. .........................ใจ
๖. .........................วอน
๗. เทิด............................
๘. นิ่ง.............................
๙. พื้น.............................
๑๐. ..........................สาด
เฉลยใบงานที่ ๒
๑. แก้ไข
๒. แบบแผน
๓. เข็ดหลาบ
๔. เกลือกกลั้ว
๕. จิตใจ
๖. อ้อนวอน
๗. เทิดทูน
๘. นิ่งเฉย
๙. พื้นฐาน
๑๐. เสื่อสาด
ใบงานที่ ๓
ชื่อ...............................................................................ชั้น .................เลขที่
.

คำชี้แจง ให้นักเรียน นำคำซ้อนที่กำหนดให้ไปเข้ากลุ่มให้ถูกต้อง
โดยเขียนคำตอบเรียงตามหลัก พจนานุกรม
จริงจัง โง่เขลา พบปะ ซุ่มซ่าม คอยท่า
มืดมัว โผงผาง เอะอะ ร่ำไห้ ขรุขระ
๑. คำซ้อนเพื่อเสียงได้แก่ ................................................................................................................
๒. คำซ้อนเพื่อความหมาย ได้แก่
.................................................................................................................
.
แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง คำซ้อน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว (ข้อละ ๑ คะแนน)
๑. ข้อใดกล่าวถึงคำซ้อนไม่ถูกต้อง
ก. คำที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
ข. คำที่เกิดอิสระไม่ได้กับคำที่เกิดอิสระได้
ค. คำที่มีความหมายกับคำที่ไม่มี
ความหมาย
ง. คำที่ขึ้นต้นด้วยด้วยพยัญชนะเสียง
เดียวกันหรือมีเสียงสระคู่กัน
๒. ข้อใดมีการสร้างคำแบบคำซ้อน
ก. เสียงเบา ข. เหี่ยวแห้ง
ค. ซักผ้า ง. หักใจ
๓. ข้อใดมีคำซ้อนทุกคำ
ก. ทุบตี ทุกข์ใจ ข. แห้งผาก แล้งน้ำ
ค. เพิ่มเติม เริ่มเดิน ง. ช้าเร็ว อกหัก
๔. คำในข้อใดไม่เป็นคำซ้อนทุกคำ
ก. ซักฟอก ทิ้งขว้าง
ข. ข่มเหง ข่มใจ
ค. คัดเลือก เดือดร้อน
ง. หักดิบ หยิบมือ
๕. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ
ดินถิ่นเดิมลุกร้อนดังไฟแผดเผา ฟืนสุมเตาเจ้าคงเจ้าเคยยัดใส่เตา คราวผู้คนบนพื้นดินเดิมปากหมอง ไยไม่มองไม่เคยเหลียวแลเห็นแก่ตัว
ก. ๒ คำ ข. ๓ คำ
ค. ๔ คำ ง. ๕ คำ
๖. ข้อใดเป็นคำซ้อนที่เกิดจากคำที่มีความหมายเหมือนกันทั้งสองคำ
ก. ร้ายแรง ข. เกะกะ
ค. เดือดร้อน ง. ยู่ยี่
๗. ข้อใดเป็นคำซ้อนที่เกิดจากคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน
ก. ญาติโยม ข. พัดวี
ค. บาปบุญ ง. ซากศพ
๘. คำในข้อความต่อไปนี้ คำใดใช้คำซ้อนไม่ถูกต้อง ใจเธอคร่ำเคร่ง(๑)อยู่กับการนัดหมาย(๒)ในค่ำคืน(๓)นี้ด้วยมีสัญญายึดเหนี่ยว(๔)กันอยู่
ก. คำที่ ๑ ข. คำที่ ๒
ค. คำที่ ๓ ง. คำที่ ๔
๙. ข้อใดใช้คำซ้อนไม่ถูกต้อง
ก. เป็นผู้หญิงต้องเดินเหินให้เรียบร้อย
ข. สำรวมหน่อยคุณละเอียด อย่าร้องเรียนเอะอะ
ค. ทำอะไรเสียงดังโครมคราม เดี๋ยวเพื่อนบ้านก็ตื่นหรอก
ง. อาการป่วยของเขาหนักมาก เขาเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้สักส่วน
๑๐. ข้อใดใช้คำซ้อนผิดความหมาย
ก. กรกฎพูดจาตอกย้ำเพื่อนเสมอ
ข. สิงหาทำงานด้วยความรวดเร็ว
ค. กันยาใช้ชีวิตแบบหรูหราติดดิน
ง. ตุลารู้สึกซาบซึ้งทุกครั้งที่ถูกตักเตือน
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
เรื่อง คำซ้อน
๑. ค
๒. ข
๓. ง
๔. ง
๕. ข