ชื่อเรื่องการวิจัย การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศิรินันท์ จรตระการ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวนนักเรียน 44 คน ได้มาโดย การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารว่างแบบไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.23-0.80 และมีค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.20-0.60 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.8636 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 15 ข้อ เป็นลักษณะคำตอบแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples Test)
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.51/87.88 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7633 แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 76.33
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อาหารว่างแบบไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด