ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร เรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางนวลจันทร์ บัวเชย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ยังขาดสื่อการสอนที่เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการปฏิบัติกิจกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 6 บทเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.73 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.74 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ 0.932 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายในกลุ่มโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.81/83.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.5722 หรือ คิดเป็นร้อยละ 57.22
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพและมีดัชนีประสิทธิผลเหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างดีและสามารถนำไปประยุกต์ ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เป็นสื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติตามให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของการเรียน เป็นตัวอย่างในการพัฒนาในรายวิชาอื่นๆ ต่อไป