ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร
ผู้วิจัย นางเสาวลักษณ์ กมลศิลป์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๖๑
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๒
อิสาณธีรวิทยาคาร เป็นทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสมกับสังคมไทยในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะรูปแบบดังกล่าว โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้และต่างกลุ่ม ได้เรียนรู้จากสภาพจริง และสอดคล้องกับการดำเนินชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการการจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร
กองการศึกษา เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ๒) เพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหา ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน ๕๕ คน คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๔๓ คน และ ครู จำนวน ๒ คน กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ครูซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้านการสอนหรือเป็นครูวิชาการในโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร จำนวน ๙ คน ร่วมสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) กลุ่มเป้าหมายในการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน ๒ คน และครูในโรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร จำนวน ๔๓คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๔๕ คน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ๑) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหา ๒) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus groups) และประเมินรูปแบบ ๓) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
๑. สภาพปัจจุบันของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร ๑ พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๘๗
๒. สภาพปัญหาของการจัดการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร พบว่า มีปัญหาการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน ๒ ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา มีปัญหาการดำเนินการอยู่ในระดับน้อยจำนวน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านด้านการบริหารการศึกษา ๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน ๓) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และ ๔) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของของเนื้อหา สาระของรูปแบบตามองค์ประกอบที่กำหนดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence : IOC) ของเนื้อหา สาระของรูปแบบตามองค์ประกอบที่กำหนดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกด้าน และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๕
โดยสรุป รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๒ อิสาณธีรวิทยาคาร ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้จัดการศึกษาในโรงเรียน เพราะมีองค์ประกอบของรูปแบบที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา คือ ACPLPEM Model ได้แก่ ๑) การบริหารการศึกษา (A : Administration) ๒) การพัฒนาหลักสูตร (C : Curriculum) ๓) การพัฒนาบุคลากร (P : Personnel) ๔) กระบวนการเรียนการสอน (L : Learning and Teaching) ๕) การมีส่วนร่วมของชุมชน (P : Participation) ๖) การประเมินผล (E : Evaluation) และ ๗) การปรับขยายผลและประยุกต์ใช้ (M : Modification and Transmission) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานสู่สถานศึกษาพอเพียง ของกระทรวงศึกษาธิการ และการดำเนินการที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะความมีชีวิตพอเพียงอย่างยั่งยืน คือ มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขการมีความรู้คู่คุณธรรม