การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ ตามแนวทางการอ่านเอ อาร์ ซีสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชา ลดระยะเวลาเรียนภาษาไทย 3 รหัสวิชา ท 32103 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านคิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณตามแนวทางการอ่าน เอ อาร์ ซี สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณตามแนวทางการอ่าน เอ อาร์ ซี สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 154 คน เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ ตามแนวทางการอ่าน เอ อาร์ ซี
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณตามแนวทางการอ่าน เอ อาร์ ซี จำนวน 5 เล่ม 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีลักษณะเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ดำเนินการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบก่อนเรียน แล้วจึงให้เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เมื่อเรียนจบแล้วให้นักเรียนทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้วจึงรวบรวมผลนำไปวิเคราะห์ และทดสอบสมมติฐาน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณตามแนวทางการอ่าน เอ อาร์ ซี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.30/ 80.27
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณตามแนวทางการอ่าน เอ อาร์ ซี สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .01