การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หลังการทดลองใช้มีประสิทธิผลอย่างไรในด้านต่อไปนี้
2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2.2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2.3) ศึกษาพัฒนาการของทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาระหว่างการจัดการเรียนรู้ 2.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการพัฒนาพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ องค์ประกอบเชิงกระบวนการมีการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (A = Activate) ขันที่ 2 แสวงหาความรู้ (T = Transcendence) ขั้นที่ 3 เรียนรู้ (H = Housekeeping) ขั้นที่ 4 ฝึกแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (I = Illustrate) ขั้นที่ 5 สรุป (P = Predicate) ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.93./87.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 16.66
2.2 ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน
คิดเป็นร้อยละ 22.48
2.3 พัฒนาการของทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่จัด
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
อย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาระหว่างเรียนสูงขึ้น
2.4 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.71, S.D. = 0.56)
3. การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ATHIP Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาไป
ขยายผล มีประสิทธิภาพ