บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 2.1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน ตามเกณฑ์ 75/75 2.2) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และแนวคิด การใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2.3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมี วิจารณญาณ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิด การใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐานด้านปัญหา และ ความต้องการในการจัดการเรียนวิชาการงาน อาชีพและเทคโนโลยี ด้วยการสอบถาม การสัมภาษณ์และ สังเกตชั้นเรียน รวมทั้งศึกษาแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน และ นำมาสังเคราะห์ออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมี วิจารณญาณ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพและความเหมาะสม ระยะที่ 2 การนำการจัดการ เรียนรู้ที่ออกแบบในระยะแรก ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปรับปรุงในประเด็นที่ ยังไม่สมบูรณ์ให้มีคุณภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น ระยะที่ 3 นำการจัดการเรียนรู้ไปใช้จริงกับกลุ่มนักเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ครูด้านการจัดการเรียนรู้ 3) ความพึงพอใจพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบสังเกตชั้นเรียน 4) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน จำนวน 25 ข้อ 6) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ วิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ในโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ยังมีปัญหาที่ต้องการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้น จึงได้ออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวคิดการใช้ ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ที่ประกอบด้วยขั้นกิจกรรม 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นกิจกรรม 3) ขั้นอธิบายความคิด รวบยอด 4) ขั้นฝึกทักษะและนำความรู้ไปใช้ และ 5) ขั้นประเมินผล ซึ่งมีผลการประเมินการจัดการ เรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญรายแผนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิด การใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีดังนี้
2.1 แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.35/76.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
2.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิด การใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ ระดับ .05
2.3 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการผสานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิด การใช้ปัญหาเป็นฐาน มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55
โดยสรุป การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ