ชื่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ผู้ศึกษา นางพจนา โชตยันดร ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ความมุ่งหมายของการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยถ่ายทอดแนวคิดของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ออกมาในรูปแบบของแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สถิติ Wilcoxon Signed-Ranks Test (Wilcoxon Value, Wilcoxon Prob) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล สามารถกำหนดเป็นนิยาม องค์ประกอบและพฤติกรรมในแต่ละองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา พบว่า พฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้การทำความเข้าใจกับปัญหาและการคิด หาเหตุผลเพื่อแสวงหาหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความเข้าใจปัญหา 2) ด้านการสืบค้นข้อมูล 3)ด้านการนำเสนอวิธีในการแก้ปัญหา 4) ด้านการปฏิบัติและ 5) ด้านการประเมินผล
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่ากระบวนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ที่พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นวิธีการที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามรูปแบบ (PISAA) 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา (Problem Finding) ขั้นที่ 2 การค้นหาความคิด (Idea Finding) ขั้นที่ 3 การเลือกกลวิธีการแก้ปัญหา (Strategy Finding) ขั้นที่ 4 การลงมือปฏิบัติ (Action Finding) และขั้นที่ 5 การประเมินผล (Assessment Finding) และรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่ามีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ 85.44/90.23 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่าเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3มีความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่าความพึงพอใจสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 รวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก ( =4.31, =0.74)