ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการสอนแบบ
ไตรสิกขา เรื่อง คำและชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้รายงาน นางสาวทองย้อย ช่างเกวียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา
ภาคการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง คำและชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ 0.50 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง คำและชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง คำและชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง คำและชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.21 0.79 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบที (t-test for dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง คำและชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 6 เล่ม พบว่า ประสิทธิภาพ 89.86/89.90 แสดงว่าบทเรียนการ์ตูนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบไตรสิกขาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และมีดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้เท่ากับ 0.86 แสดงว่าบทเรียนการ์ตูนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 86
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากเรียนโดยใช้บทเรียนการ์ตูนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบไตรสิกขาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบไตรสิกขา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.82 , S.D. = 0.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา เรื่อง คำและชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้นนักเรียนกระตือรือร้นที่จะติดตามบทเรียนมากขึ้นและนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ