ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริม ความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายบุญถม วรรณทอง
โรงเรียน โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือ KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือ KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (4)เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนของนักเรียนจากการประเมินในการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือ KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้น ม 2/ จำนวน 18 คน โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ (1) ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 6ท่าน (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 38 คน ปีการศึกษา 2561 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๖๑ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุดฝึกทักษะ การเรียนรู้แบบร่วมมือกระบวนการแก้ปัญหาตามเทคนิค KWDL แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลอง ใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๓๘ คน โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 3 ชนิด คือ (1) ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร รายวิชาคณิตศาสตร์ ค23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.50 -0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ(KR-20) เท่ากับ 0.89 และ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25-0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 มุ่งให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ ในการพัฒนาความคิด ทำให้คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ แบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งการพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน มาทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบร่วมกัน และสามารถทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ที่เป็นขั้นตอนในการแก้ปัญหา โดยสามารถสื่อสาร สื่อความหมาย เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา และให้เหตุผล และการสำรวจความต้องการของนักเรียนและครูผู้สอนพบว่าต้องการให้มีการพัฒนาสื่อที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่มีขั้นตอนในการคิดวิเคราะห์ทำให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ
2. ผลการสร้างพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ได้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้
แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 ชุด และมีประสิทธิภาพโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 83.67/82.39 และเมื่อพิจารณาเป็นรายชุด ปรากฏว่าทุกชุดมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. จากการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค
KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ความคงทนในการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้ร่วมมือ
และเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความคงทนในการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน และหลังการเรียนผ่านไป 14 วัน ไม่แตกต่างกัน
กิตติกรรมประกาศ
การวิจัยครั้งนี้สำเร็จด้วยดีโดยได้รับกำลังใจ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาต่างๆ และให้ข้อสังเกตในการทำวิจัย จากนายบุญเจริญ สุขสกุลรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณ นายบุญเจริญ สุขสกุล รองผู้อำนวยการรักษาราชการแทนผู้อำนวยการ โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัจจารักษ์ ลาดสูงเนิน อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่กรุณาช่วยตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องและตรวจสอบแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัจจารักษ์ ลาดสูงเนิน อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ นายวิทยา เครือทอง รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนน้ำซึมพิทยาคม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี นางโสรดา ชัยปัดชา ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ที่กรุณาช่วยตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องและตรวจสอบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมชุดฝึกทักษะ และตรวจความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ขอขอบพระคุณคณะครูโรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ทุกท่าน ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการวิจัย และขอขอบคุณน้ำใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือกับผู้ศึกษาในการเก็บเกี่ยวรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี
สุดท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ และครอบครัวทุกคนที่คอยเป็นกำลังใจให้ความรัก ความห่วงใย คุณความดีและประโยชน์จากการวิจัยเล่มนี้ ผู้วิจัยขอมอบแด่ผู้อยู่เบื้องหลังทุกท่านที่ช่วยเหลือเป็นกำลังใจแก่ผู้วิจัยตลอดเวลาที่ผ่านมา
บุญถม วรรณทอง