บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบ การเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย เยาวลักษณ์ บ่อเกิด
ปีที่ศึกษา 2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร 2) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร 4) ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้การจัดฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t test (dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพบว่าควรส่งเสริมการสอนสะเต็มศึกษา (STEM) เพราะเป็นการเรียนแบบบูรณาการระหว่างสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กับวิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร ได้รูปแบบ PGIC Model ประกอบด้วย 1) การวางแผนและให้ความรู้ (Planning and Knowledge : P) 2) กระบวนการกลุ่ม (Group Process : G) 3) การบูรณาการ (Integration: I) 4) ชุมชนการเรียนรู้ (Community of Practice : C) ส่วนการตรวจสอบรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การทดสอบค่าประสิทธิภาพขั้นทดลองภาคสนาม พบว่ารูปแบบการจัด การเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร มีประสิทธิภาพ 81.67/80.78
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนำทดลองกับผู้เรียน จำนวน 33 คน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.98/83.64
4.ผลการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สารและสมบัติของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก