ชื่อเรื่องวิจัย รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิด เชิงนวัตกรรมของโรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นคราชสีมา
ชื่อผู้วิจัย นายกฤชณรงค์ กองคำ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนพระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อสำรวจสังเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม (3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม
ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครู 24 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน นักเรียน 150 คน และผู้ปกครอง 150 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ระยะที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม แบบสอบถาม ระยะที่ 2 มีการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ใช้แบบสอบถามการทดลองใช้ ระยะที่ 4 แบบประเมินคุณภาพและแบบประเมินสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม และแบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารได้หลักการรูปแบบพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) ด้านการบริหารจัดการ (2) การพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม และ (3) ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา โดยใช้แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม จากนั้นได้สำรวจ สภาพปัจจุบันของปัญหา พบว่า การพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย ส่วนความต้องการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก
2. ระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ได้ระบบฉบับร่าง ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการบริหาร 7S มี 7 ตัวชี้วัด องค์ประกอบด้านการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม มี 12 ตัวชี้วัด องค์ประกอบด้านที่ 3 ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 9S มี 11 ตัวชี้วัด จากการวิจัยพบว่า ทุกขั้น ทุกข้อผ่านเกณฑ์ ระดับมาก
3. ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่า ในภาพรวมผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน
4. ระยะที่ 4 ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
Learning ) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่า ระบบที่พัฒนามีประโยชน์และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ใน ระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning)
เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาได้เป็นอย่างดี