บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วยคุณภาพของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังหลาม พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน พฤติกรรมด้านการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อ การดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านวังหลาม ปีการศึกษา 2560 โดยศึกษาจาก ประชากรครู จำนวน12 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 126 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 126 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ และเครื่องมือทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows v.16
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวมและทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านความพร้อมของบุคลากร ด้านความเพียงพอของงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ด้านการบริหารจัดการ และด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ โดยภาพรวมและทุกด้านที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม ด้านการติดตามประเมินผล และด้านการนำผลไปปรับปรุง ประเมินผลระหว่างดำเนินการ โดยภาพรวม และทุกด้านที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 พบว่า
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้ง 4 กลุ่ม ผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู และนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต พฤติกรรมด้านการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2560 ทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจของ ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านวังหลาม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 4 กลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่ง การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปรือ จังหวัดตรัง เพราะจะทำให้รู้ทิศทางของการพัฒนาในแต่ละด้านเกิดความคล่องตัวในการประสานงานกับทุก ๆ ฝ่ายและจำทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2. ควรนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อวางแผนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้าง การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปรือ จังหวัดตรัง เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) ของสถานศึกษาต่อไป
3. ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคลหน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมเพราะจะทำให้มีกำลังใจในการทำงานและส่งผลต่อความสำเร็จของงานในครั้งต่อ ๆ ไป
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือปัจจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้นักเรียน ในครั้งต่อไปควรเพิ่มด้านของการประเมินให้มากขึ้น เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการบริการการยืมคืนหนังสือห้องสมุด ควรมีการปรับปรุงพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ควรให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น และประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้ทั่วถึง
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ